บ้านสวยริมธาร บ้านริมน้ำ หนึ่งในแบบบ้านยอดนิยม ที่ให้บรรยากาศของความรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย แต่การสร้างบ้านริมน้ำสักหลังต้องคำนึงถึงความแข็งแรง ปลอดภัย ทนทานต่อความชื้น และมีผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทรับ สร้างบ้านช่วยดูแลเรื่องงานสร้าง รวมทั้งเจ้าของบ้านเองก็ยัง ต้องมีความรู้เกี่ยวกับ การสร้างและดูแลบ้านริมน้ำด้วย บ้านในภูเก็ต
บ้านสวยริมธาร
เรื่องต้องรู้! เมื่อคิดสร้างบ้านริมน้ำ
1.ตรวจสอบดินและการกัดเซาะริมตลิ่ง
โดยส่วนมากดินริมตลิ่งมักเป็นดินอ่อน การกัดเซาะของดินริมตลิ่งจึงเป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ดังนั้นสิ่งสำคัญของการสร้างบ้านริมน้ำคือต้องตรวจสอบสภาพดิน วางแผนสร้างแนวรั้วป้องกันตลิ่งไว้ก่อน เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน
โดยการสร้างรั้วควรใช้เสาเข็มรูปตัวไอ (I-Section) เพราะสามารถใส่แผ่นพื้นสำเร็จรูปวางลงไปในช่องว่างระหว่างเข็มได้เลยโดยไม่ต้องก่ออิฐ นอกจากนี้เข็มตัวไอยังมีคุณสมบัติทนต่อแรงเสียดทานที่ผิวสัมผัสได้ดีกว่าเข็มชนิดอื่น
2.ระยะถอยร่นตามกฎหมาย
บ้านริมน้ำ ก็มีระยะถอยร่นเช่นเดียวกับบ้านบนที่ดินปกติ ไม่สามารถสร้างชิดติดขอบได้ ดังนั้นก่อนสร้างบ้านริมน้ำควรสำรวจแนวเขตที่ดินให้ดี ดูระยะห่างของบ้านจากแหล่งน้ำให้ถูกต้องตามกฎหมาย จะได้ไม่มีปัญหาบานปลายตามมาภายหลัง
หากบ้านต้องสร้างล้ำออกมากเกินแนวเขตพื้นที่ทั้งในคลองหรือแม่น้ำ กรมเจ้าท่ามีสิทธิ์ร้องเรียนหรือสั่งหยุดการก่อสร้างได้ทันที เพราะถือเป็นกรรมสิทธิ์พื้นที่ของหลวง โดยกฎหมายระยะถอยร่นอาคาร ประเภทการก่อสร้างอาคารพื้นที่ติดแหล่งน้ำสาธารณะ ระบุไว้ว่า
- สำหรับแหล่งน้ำที่เป็น คูคลอง ลำประโดง แม่น้ำ ที่มีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร จะต้องถอยห่างอย่างน้อย 3 เมตร
- สำหรับแหล่งน้ำที่กว้างกว่า 10 เมตร จะต้องถอยห่างอย่างน้อย 6 เมตร
- สำหรับแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น ทะเลสาบ ทะเล จะต้องถอยห่างอย่างน้อย 12 เมตร
3.ตรวจระดับน้ำขึ้นสูงสุด
ระดับน้ำนั้นมีขึ้นและลงตามฤดูกาล หรือจากปริมาณน้ำฝน ดังนั้นก่อนการสร้างบ้านริมน้ำควรศึกษาข้อมูลระดับน้ำขึ้นสูงสุดของพื้นที่นั้น เพื่อวางแผนสร้างบ้านไม่ให้น้ำท่วม โดยสามารถขอข้อมูลได้จากกรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ ร่วมกับการสังเกตด้วยตนเอง เช่น การดูรอยเส้นน้ำท่วมจากเสาสะพานในแม่น้ำ ลำคลองที่อยู่ใกล้พื้นที่สร้างบ้าน โดยให้ดูรอยเส้นน้ำท่วมเสา ซึ่งสามารถนำมาเปรียบเทียบกับระดับดินในพื้นที่ก่อสร้างบ้านได้
4.ยกใต้ถุนให้สูงกว่าระดับน้ำ
เมื่อทราบระดับน้ำขึ้นสูงสุดของพื้นที่สร้างบ้านแล้ว ก็ควรวางแผนยกใต้ถุนให้สูงกว่าระดับน้ำ เพราะคงไม่มีใครอยากอยู่บ้านที่เสี่ยงกับน้ำท่วมอย่างแน่นอน
การออกแบบว่าควรยกใต้ถุนขึ้นสูงแค่ไหน ตัวบ้านจึงจะปลอดภัย มีวิธีการคำนวณดังนี้คือ ความลึกของระดับน้ำ + ความลึกของระดับน้ำเดิม × 1.25 = ความยาวเสาเข็มที่จะทำแนวรั้ว (ค่าที่ได้ต้องไม่เกิน 10 เมตร)
5.ทิศทางแหล่งน้ำและแสงสะท้อน
ทิศทางของแหล่งน้ำ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกับการอยู่อาศัยมาก โดยมีผลในเรื่องของละอองน้ำที่พัดพาความชื้นเข้าสู่ตัวบ้าน และการสะท้อนแสงแดดจากผิวน้ำเข้าสู่ตัวบ้าน ซึ่งจะทำให้บ้านร้อนอบอ้าวกว่าปกติ
ดังนั้นให้หลีกเลี่ยงการสร้างบ้านที่แหล่งน้ำอยู่ทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตกของบ้าน เพราะเป็นทิศที่รับแสงแดดโดยตรง หากเลี่ยงไม่ได้ให้สร้างบ้านห่างจากแหล่งน้ำเพื่อหลบเลี่ยงแสงแดดที่สะท้อนผิวน้ำมาโดนบ้าน หรือใช้ต้นไม้ใหญ่ช่วยบดบังแสงแดดที่สะท้อนเข้าบ้าน
สำหรับทิศทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับบ้านริมน้ำ คือ ทิศใต้ เพราะเป็นทิศทางที่ลมจะพัดพาละอองน้ำเข้าสู่ตัวบ้าน ทำให้บ้านเย็นสบาย แต่ก็ต้องหลีกเลี่ยงการสร้างห้องครัว ห้องน้ำ ทางทิศรับลม เพราะแทนที่จะได้รับอากาศสดชื่น จะกลายเป็นกลิ่นควันจากการทำอาหาร หรือกลิ่นจากห้องน้ำย้อนกลับเข้ามาในบ้านแทน
สำหรับผู้ที่มีที่ดินริมน้ำ หรือมีแผนจะสร้างบ้านบนที่ดินริมน้ำ แนะนำให้เลือกบริษัทรับสร้างบ้านที่มีประสบการณ์สูง และมีผลงานในการรับสร้างบ้านริมน้ำมาแล้ว เนื่องจากการสร้างบ้านริมน้ำมีจุดที่ต้องระมัดระวัง และมีการวางแผนการก่อสร้างอย่างรอบคอบ เพื่อให้เจ้าของบ้านอยู่สบายไร้กังวล หมดปัญหาที่จะตามมาในภายภาคหน้า
แบบบ้านไม้ริมธาร ยกพื้นหนีน้ำ เปิดรับวิวรอบด้าน
บ้านสไตล์คันทรี หรือบ้านฟาร์มอาจจะเป็น แบบบ้านในฝันของคนที่รักความชนบท เพราะการได้ใกล้ชิดกับต้นไม้ ภูเขา สัตว์น้อยใหญ่ที่หาไม่ได้ในเมือง ให้ความสงบและร่มรื่น บ้านที่เราจะนำเสนอวันนี้ ไม่ใช่บ้านฟาร์มหลังเล็ก ๆ แต่เป็นบ้านฟาร์มหลังใหญ่มาก สร้างกลางพื้นที่หลายพันไร่ แต่เน้นรูปลักษณ์ ให้ดูกลมกลืนไม่โดดเด้ง ออกมาจนเสียทัศนียภาพ ของธรรมชาติแวดล้อม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งไอเดียในการปลูกบ้านที่น่าสนใจ ใครที่ชอบก็ลองปรับขนาด ให้เล็กลงหรือใหญ่ ขึ้นตามงบประมาณกันได้เลย
ที่พักพิงขนาดใหญ่ในไร่ปศุสัตว์ขนาด 2,000 เอเคอร์ หรือประมาณ 5,060 ไร่ นี้ สร้างในรัฐมอนทาน่า อยู่แถบฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา บริเวณรอบล้อมบ้านเป็นป่า cottonwoods ที่เรียงรายไปตามแนวชายฝั่งของแม่น้ำ ทำให้เกิดทิวทัศน์อันงดงาม บ้านที่ตั้งอยู่ในที่โล่งกลางป่าไม้ใกล้น้ำ ห่อหุ้มด้วยผนังไม้สลับกระจกขนาดใหญ่เผยให้เห็นมุมมองที่ชัดเจนของทัศนียภาพ น้ำ ป่า รอบ ๆ และเทือกเขา Crazies ที่อยู่ไกลออกไป
ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิ หิมะในเทือกเขาจะละลายกลายเป็นน้ำไหลเรื่อยมาตามแม่น้ำลำธารในปริมาณมากจนล้นริมตลิ่ง ซึ่งจุดที่จะสร้างบ้านก็เป็นทางน้ำผ่าน จึงต้องออกแบบโดยดูประวัติระดับน้ำเป็นหลัก สถาปนิกสร้างตัวบ้านให้ตั้งอยู่บนฐานสูง 30 ฟุตเพื่อหนีน้ำท่วม การยกระดับที่สูงขึ้นนอกจากจะทำให้บ้านหมดปัญหาเรื่องน้ำท่วมแล้ว ยังทำให้บ้านดูเหมือนลอยไปตามแม่น้ำ เนื่องจากมีบางส่วนที่ปล่อยน้ำไหลผ่านอยู่ภายใต้ฐานราก
บ้านตีผนังไม้ไม่ทำสีดูเป็นอันหนึ่ง อันเดียว กับธรรมชาติ ตั้งริมธารน้ำเย็น ๆ ไหลเอื่อยเรื่อย ๆ ตลอดปี สร้างความชุ่มฉ่ำให้กับพื้นที่ ตัวบ้านหลังนี้มองดูไกลๆ เหมือนรูปตัว T มีส่วนด้านข้างยื่นออกมาคล้ายปีกเครื่องบิน ส่วนอาคารตรงกลางทำเป็นสองชั้น ทำให้สามารถมองเห็นวิวในมุมสูงได้ไกลออกไป รอบบ้านเต็มไปด้วยความสดชื่น ของธรรมชาติที่ดูมีชีวิตชีวา ชวนผ่อนคลายเหมือนอยู่รีสอร์ทหรู
ทางเดินจากบริวเณกลางแจ้ง เข้าสู่ตัวบ้านปูด้วยแผ่นหิน วางเรียงเป็นแนวโค้งล้อไปกับเส้นทางน้ำ รอบ ๆ ทางเดินเป็นสนามหญ้า สวนหิน แทรกแซมด้วยต้นไม้ใบหญ้า เพิ่มความกลมกลืนกับป่าและภูเขา สเต็ปทางเดินที่จะเข้าสู่ตัวบ้าน เชื่อมความรู้สึกมาจากทางเดินด้วยการใช้แผ่นหินขนาดใหญ่ ตัดให้ได้ขนาดพอดี ตามที่ต้องการ วางเรียงระดับขึ้นไปถึงประตู ระหว่างขั้นบันได มีดอกหญ้าสีม่วงดอกเล็ก ๆ น่ารักขึ้นมาลดความแข็งกระด้างของหิน บ้าน 2 ชั้น
เข้าสู่ตัวบ้าน จะพบความความรู้สึกโปร่งสบาย เหมือนไร้ผนัง เพราะหลาย ๆ จุดของบ้านใช้กระจกเป็นวัสดุหลักสลับกับไม้ ความใสของกระจกบวกกับความกว้างขวาง ของพื้นที่ทำให้ภายในซึมซับ บรรยากาศภายนอกเข้า มาได้อย่างเต็มที่ ผู้อยู่อาศัยสามารถ เพลิดเพลินไปกับแสงพระอาทิตย์ยามเช้า ฟังเสียงนกร้องพร้อมทานอาหาร มองดูสายน้ำยามจิบน้ำชา ยามบ่ายที่แสนสบาย ทำให้ที่นี่กลายเป็นสวรรค์บนดิน
กระจกทั้งสองด้านของผนัง เปิดมุมมองทางสายตา ออกไปได้กว้างไกล ไม่ว่าจะอยู่มุมไหน ก็ไม่พลาดเก็บทิวทัศน์ธรรมชาติที่หาได้ยากตามจุดต่าง ๆ ของบ้านแทรกความ รู้สึกแบบชนบทเอาไว้ ช่วยเบรคความหรูหราของ กระจกและความใหญ่โตของบ้าน
อย่างเช่น เสาและผนังไม้ดิบๆ การนำไม้มาตกแต่งบ้าน จะช่วยสร้างบรรยากาศให้ ดูเป็นธรรมชาติ แถมไม้แต่ละท่อน แต่ละแผ่นยังโชว์ Texture ที่วัสดุไหนก็ไม่เหมือน ตกแต่งผนังด้วยเครื่องประดับ โครงกระดูกสัตว์ เก้าอี้หนัง พรมหนังสัตว์ ของใช้จากเส้นใยพืช เป็นต้น
ห้องนอนผนังกระจก ดึงเอาวิวธรรมชาติเข้ามา เป็นส่วนหนึ่งของห้อง ทำให้รู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติ ตั้งแต่ตื่นนอนไปจนถึงเวลาเข้านอน ภายในตกแต่งเรียบง่ายมีกลิ่นอาย ของความอบอุ่นแต่แฝง ไปด้วยความทันสมัยได้อย่างลงตัว บ้านไม้ริมธาร
มุมมองจากชั้นบนของตัวบ้าน จะเห็น Landscape ทั้ง Sofescape และ Hardscape อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ สีเขียวของสนามหญ้า ความระยิบระยับของผิวน้ำ ที่คดโค้งเข้าสู่พื้นที่บ้าน และแผ่นหิน ไปจนถึงทิวทัศน์ภูเขาที่อยู่ไกลลิบ ๆ
บนหลังคาจัดสวนหญ้าเขียว ๆ และสวนหิน ที่จะช่วยเพิ่มความกลมกลืน ระหว่างบ้านกับธรรมชาติ ในยามมองจากมุมสูง และยังช่วยลดความร้อนที่หลังคารับโดย ตรงจากแสงอาทิตย์ ทำให้บ้านเย็นสบาย เป็นบ้านที่เหมาะกับ การพักผ่อนตลอดทุกฤดู