บ้านบนภูเขา ด้วยความวุ่นวายภายในเมือง จึงทำให้บางคนอยากปลีกวิเวก ต้องการมีที่พักอาศัยที่เงียบสงบ เพื่อผ่อนคลาย และหลบหนีจากความสับสนวุ่นวายเหล่านั้น จึงเลือกที่จะมาปลูก ที่พักอาศัยบนภูเขา ท่ามกลางธรรมชาติที่ สวยงามและเงียบสงบ
บ้านบนภูเขาจึงกลายเป็นที่ชื่นชอบ ของคนส่วนมาก เพราะมีบรรยากาศดีๆ และธรรมชาติที่สวยงามให้ผ่อนคลายได้ในทุกๆ วัน สำหรับใครที่สนใจอยากสร้างบ้านบนเนินเขา หรืออยากมีบ้านติดเขา ในบทความนี้ จะมาบอกว่ามีข้อควรรู้ใดบ้าง เพื่อให้การสร้างบ้านออกมามีความปลอดภัย เหมาะแก่การอยู่อาศัย บ้านหรู
บ้านบนภูเขา
ทำไมถึงต้องมีบ้านบนภูเขา
เหตุผลที่คนเลือกสร้างบ้านบนภูเขา เพราะได้อยู่อาศัยท่ามกลางธรรมชาติ อันสวยงามและเงียบสงบ ล้อมรอบด้วยบรรยากาศ ที่สดชื่น ได้สูดกลิ่นอายของ อากาศบริสุทธิ์ พร้อมมีความเป็นส่วนตัว ไม่วุ่นวาย ผู้พักอาศัยสามารถ ผ่อนคลายได้ในทุกๆ วัน ด้วยทัศนียภาพที่สวยงามบนภูเขา และสภาพอากาศที่ร่มรื่นอยู่เสมอ ทั้งยังเหมาะกับคนที่ต้องการความสงบ และหลงใหลในธรรมชาติอีกด้วย จากข้อดีต่างๆ ของการมีบ้านบนภูเขา ทำให้มีคนชื่นชอบ และใฝ่ฝันที่จะสร้างบ้านบนภูเขาไม่ใช่น้อย แบบบ้านราคาไม่เกิน 7 แสน
ข้อควรรู้ก่อนมีบ้านบนภูเขา
1.เลือกที่ตั้งบ้านในทำเลที่ดี
การเลือกที่ตั้งบ้านในทำเลดีเป็นอย่างไร ควรเลือกเพื่อเหตุผลอะไร เริ่มจากควรเลือกที่ตั้ง บ้านในทำเลที่สามารถเดินทางเข้าออกได้สะดวก เพราะนอกจากจะช่วยเรื่อง ของความสะดวกสบายแล้ว หากบ้านตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม ก็จะช่วยเสริมในเรื่องการเรียกโชคลาภเข้าบ้าน ตามหลักความเชื่อฮวงจุ้ยเช่นกัน อีกทั้งการหาทำเลบ้านที่ดี เช่น บ้านที่ตั้งอยู่หลังพิงเขา ก็สามารถช่วยป้องกันมรสุม หรืออันตรายจากภัยธรรมชาติได้อีกด้วย
2.สร้างบ้านบนเนินให้สูงกว่าต้นไม้
การสร้าง บ้านบนเนิน ให้สูงกว่าต้นไม้ จะเป็นการจัดวางตัวบ้านให้อยู่สูงกว่า ระดับพื้นดินปกติของต้นไม้ ซึ่งเป็นการทำเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวบ้านได้รับผลกระทบ ในกรณีเกิดเหตุน้ำท่วม หรือน้ำไหลหลากเข้ามา เพราะต้นไม้จะช่วยดูดซับ และรับแรงกระแทกของคลื่นน้ำได้ หากสร้างบ้านไว้ในระดับเดียวกัน หรือต่ำกว่าต้นไม้ เมื่อน้ำมาก็จะได้รับผลกระทบทันที นอกจากนี้หากเกิดเหตุไฟป่า ก็จะเกิดความเสียหายแก่ตัวบ้านได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
3.สร้างบ้านโดยเว้นระยะห่างจากต้นไม้
การสร้างบ้านโดยเว้นระยะห่างจากต้นไม้ คือ การเว้นระยะห่างระหว่างตัวบ้านกับต้นไม้ที่รายล้อม ซึ่งบ้านบนภูเขาจำเป็นต้องทำ เพื่อให้บ้านปลอดภัยจากไฟป่า โดยวัดจากแรงลมว่าตัว บ้านควรมีระยะห่างจากต้นไม้เท่าใด และห่างจากด้านไหนมากที่สุด ถึงแม้ข้อควรรู้นี้อาจจะไม่สามารถป้องกันบ้านได้ทั้งหมด แต่ก็ช่วยลดความเสียหาย ที่เกิดขึ้นลงได้บ้าง เพราะเป็นการชะลอไม่ให้ บ้านได้รับผลกระทบจากไฟไหม้เร็วเกินไป
4.โครงสร้างบ้านทนต่อไฟและความชื้น
การสร้างบ้านบนภูเขาต้องคำนึงถึง ความแข็งแรงของโครงสร้างบ้าน เพราะบ้านจะสัมผัสกับไอชื้น จากต้นไม้และฝนที่ตกอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นจึงต้องเลือกวัสดุโครงสร้าง บ้านที่ทนทานต่อความชื้น เพื่อไม่ให้ความชื้นสร้างความเสียหายแก่บ้านได้ และต้องเลือกวัสดุที่มีคุณสมบัติกันไฟด้วย เพราะในฤดูแล้งมีโอกาสเกิดเหตุการณ์ ไฟไหม้ป่าได้ง่าย
5.ตัวบ้านต้องมีความแข็งแรง
โครงสร้างของตัวบ้านจำเป็นต้องมีความแข็งแรง ถึงแม้บนภูเขามีโอกาสน้อยที่จะ ต้องเผชิญกับพายุ เพราะยังมีอันตรายอื่นๆ เช่น ไฟป่าในฤดูแล้ง หรือ น้ำหลากในฤดูฝน ที่สำคัญอีกอย่างคือการขยายตัว ของรากไม้ใหญ่ที่อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งผลกระทบต่อบ้านได้ บ้านจึงต้องมีความพร้อม เพื่อเตรียมรับมือกับ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เหล่านั้น
6.รูปทรงหลังคามีผลกับน้ำฝน
หลังคาบ้านก็เป็นอีกส่วนที่ต้อง ให้ความสำคัญ เนื่องจากภายในป่าจะมีฝนตกหนัก และรุนแรงมากกว่าพื้นที่อื่นๆ หลังคาที่ต้องรองรับฝนโดยตรงจึงต้องมี ความแข็งแรงค่อนข้างสูง รวมทั้งควรมีรางระบายน้ำที่แข็งแรง พร้อมที่จะระบายน้ำได้อย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน โดยรูปทรงหลังคาส่วนใหญ่จะนิยมใช้ เป็นรูปทรงแบนหรือทรงเตี้ย สำหรับกระจายแรงและค่อยๆ ระบายน้ำฝนออกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้รางน้ำฝนไม่ต้องรับน้ำฝน ในปริมาณมากเกินไป ทั้งนี้ก็จะช่วยให้บ้านไม่มีปัญหารั่วซึม และช่วยให้พื้นที่รอบตัวบ้าน ไม่เกิดความเสียหาย
แบบบ้านสีดำบนเนินเขา สวยสง่าอย่างน่าหลงใหล
ผู้อ่านเคยเห็นอาคารบนเนินเขาสูง ที่มีความโดดเด่นฉีกออกมาจาก ธรรมชาติกันบ้างหรือเปล่า หลายต่อหลายครั้งที่ ธรรมชาติถูกลดทอนความสวยงามลง เพราะสิ่งปลูกสร้างที่สร้างขึ้นใหม่ และไม่เพียงแค่ความสวยงาม ที่ลดน้อยลงเท่านั้น ยังทำให้พื้นที่บริเวณนั้นกลับดูขัดตาไม่น่าอภิรมย์เช่นเดิม การออกแบบอาคารให้สอดรับ และเคารพกับสิ่งแวดล้อมเดิม จึงเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่ง
บ้านบนเนินเขาสูง ของนักเล่นสกีมืออาชีพ ที่รักในความท้าทาย หลงใหลในความตื่นเต้น แต่ขณะเดียวกันก็ต้องการ ให้บ้านเป็นเหมือนขุมพลังที่ช่วยกระตุ้นความกระปรี้กระเปร่า ให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ สถาปนิกจึงนำโจทย์ที่ได้ ไลฟ์สไตล์ของผู้เป็นเจ้าของ มาสร้างสรรค์ให้ลงตัวบนพื้นที่เขาสูงที่มองเห็นวิวด้านล่างได้ อย่างเต็มตาและชัดเจน
อาคารหน้ากว้างทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดสองชั้น เนื่องด้วยความพยายาม ให้บ้านไม่แปลกตาไปกว่าพื้นที่ภูเขาสูง จึงดีไซน์หลังคาแบนแบบ Slab ที่สามารถขึ้นไปใช้งานบนดาดฟ้าได้ อีกทั้งยังเลือกใช้ไม้สีดำมาทำ การกรุผนังภายนอก เคร่งขรึม สุขุม แต่ทรงพลัง เหมือนกับตัวตนของผู้เป็นเจ้าของ
ด้านหน้ามีการออกแบบ ให้มีลักษณะเหมือน กล่องสี่เหลี่ยมชั้นเดียวยื่นออกมาจาก กล่องสองชั้น อาคารที่มีความสูงน้อยกว่า ช่วยสร้างความสมดุลให้กับภาพรวม ไม่เพียงเท่านี้ขณะที่กำลัง พักผ่อนอยู่ในห้องด้านหน้าจะรู้สึกได้ถึงความใกล้ชิดกับธรรมชาติมากยิ่งขึ้นด้วย
ลวดลายของงานไม้ สีสันโทนเข้ม เป็นเกราะที่ช่วยเพิ่มมิติ ให้กับบ้านที่ใช้ผนังกระจกใส เป็นส่วนใหญ่ ไม้ที่ห่อหุ้มตัวอาคารไว้ ทำให้บ้านรูปทรงเรขาคณิตมีความอ่อนโยน และชวนให้น่าพักผ่อน เหมาะกับเป็นสถานที่เพิ่มพลังกาย พลังใจให้กับสมาชิกในครอบครัวทุก ๆ คน
แม้จะมีที่ดินกว้างขวาง แต่สถาปนิกได้ตัดสินใจออกแบบ ให้โรงจอดรถเป็นส่วนเดียวกันกับตัวบ้าน ไม่เพียงแค่ความสะดวก ในด้านการใช้งานเท่านั้น เหตุผลในการไม่แยก อาคารโรงจอดรถออกจากตัวบ้าน เพราะไม่อยากรบกวนพื้นที่ของธรรมชาติที่มีอยู่เดิมจนเกินไปนั่นเอง
บ้านหลายหลังที่ต้องการประหยัดงบ และไม่อยากใช้วัสดุไม้หรือเลียนแบบไม้มาตกแต่ง อาจเลือกใช้การทาสีลายไม้ ลงบนผนังหรือฝ้าแทน เพื่อเติมเต็มอารมณ์ที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งการทาสีลายไม้นั้น ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์สีหลายรุ่นหลายแบรนด์ออกมาให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับพื้นผิว แต่ฝีมือของช่างทาสีนับเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้สวยงามคล้ายของจริง กลับกันหากช่างทาสีไม่มีประสบการณ์ หรือไม่มีความประณีต ลวดลายไม้ที่ทาลงไป อาจลดทอนความสวยงาม ของบ้านไปเลยเช่นกัน
แบบบ้านบนเนินเขา ประหยัด ปลอดภัย ใช้วัสดุธรรมชาติ
บ้านวิวสวย ภายในบ้านน่าอยู่ หากต้องการบ้านที่ให้สุนทรียภาพความงามทั้งภายในและภายนอกแบบนี้ แค่ บ้านสวย อย่างเดียวคงไม่พอดีกับคำตอบ แต่ต้องมี วิวดี ด้วย หลาย ๆ คนที่พอจะมีทางเลือก ก็อาจจะเริ่มมองหาบ้านที่ปลีกวิเวกออกไปในต่างจังหวัด อาจจะเป็นบ้านชายทะเลหรือจะเป็นบ้านบนภูเขาก็แล้วแต่ความชอบของใจ แต่กว่าจะได้บ้านในอุดมคติที่ปลอดภัยอยู่ได้อย่างสบายใจและยั่งยืนนั้น
จะต้องคำนึงถึงการบริบทในพื้นที่ดินและสภาพแวดล้อมโดยรอบด้วย อย่างเช่น บ้านบนเนินเขา ที่นำมาให้ชมในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งหลังที่เน้นความเรียบง่าย ประหยัด ที่สำคัญคือปลอดภัย เพราะได้ผ่านกระบวนการออกแบบที่คำนึงถึงความสัมพันธ์ของตัวบ้านและบริบทที่ดินโดยรอบอย่างถี่ถ้วน ซึ่งน่าจะสามารถช่วยสร้างนิยามความสุขของบ้านได้อีกแง่มุมหนึ่ง
ตัวบ้านปรากฎกายอย่างเงียบ ๆ บนเนินเขา แม้ไม่หวือหวา แต่ก็แสดงตัวตนที่โดดเด่นชัดเจนท่ามกลางธรรมชาติโดยรอบ โดยได้ทำการปรับผิวดินและถมพื้นที่ดินให้เกิดเป็นแนวราบ ขยับตัวห่างออกจากเนินเขาเพื่อลดความเสี่ยงของโครงสร้างที่อาจเสียหายจากการพังทลายของหน้าดิน เลือกใช้ไม้ในการทำส่วนโครงสร้างด้านล่างไปจนถึงการทำชานระเบียง
เนื่องจากไม้มีความยืดหยุ่นต่อความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติมากกว่าปูน ที่สำคัญคือหากต้องการต่อเติม ปรับปรุง หรือซ่อมแซม ไม้ก็สามารถแยกส่วนในการซ่อมได้ ประหยัดและสะดวกกว่าวัสดุคอนกรีต
ผนังด้านตะวันออกใช้วัสดุอย่างสังกะสีเก่า นอกจากจะลดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังชวนให้รำลึกถึงประวัติศาสตร์เชิงพื้นที่ ที่เมื่อก่อนมักมีค่ายพักแรมของคนงานเหมืองแร่ที่ตั้งอยู่มากมายในบริเวณนี้ โดยผนังส่วนนี้ปิดทึบและเลือกเว้นช่องสำหรับบ้านกระจกเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เหตุผลคือเพื่อบดบังความเป็นส่วนตัวเมื่อมองจากภายนอก ผนังสังกะสีเชื่อมต่ออย่างลื่นไหลกับหลังคา slab แผ่นใหญ่ ที่ปกคลุมระเบียงบ้าน เป็นชายคาที่ป้องกันความร้อนไม่ให้เข้าไปในตัวบ้านมากเกินไป