แบบบ้านหน้าจั่ว โมเดิร์น ใครยังไม่รู่ว่า บ้านทรงจั่ว เป็นแบบไหนกัน เป็นบ้าน ที่มีรูปแบบหลังคาทรงมาตรฐาน พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศไทย ลักษณะทรงหลังคา เป็นหน้าจั่วสามเหลี่ยม ยาวไปตลอดทั้งอาคาร มีด้านปะทะลม 2 ด้าน และด้านลาดชันสองด้าน ซึ่งองศาความลาดเอียงของทั้ง 2 ฝั่ง อาจจะเท่าหรือไม่เท่ากันก็ได้ เมื่อมองจากระยะไกล จะมองเห็นทรงหลังคาเป็นรูปสามเหลี่ยมนั่นเอง
แบบบ้านหน้าจั่ว โมเดิร์น
แบบที่ 1 บ้านหลังคาจั่วโมเดิร์น
บ้านเล็ก ๆ เป็นทางออกที่ดีสำหรับครอบครัว ที่ต้องการบ้านที่สามารถซื้อได้ง่ายๆ แต่ในความเล็กยังต้อง มีสิ่งอำนวยความสะดวกเหมือนบ้านขนาดใหญ่ เมื่อพูดถึงการออกแบบบ้านลักษณะแบบที่ว่า อาคารหลังคาจั่วหลังนี้เป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยมของ การนำบ้านเก่าและแปลงโฉมให้เป็นสิ่งใหม่ได้อย่างน่าตื่นเต้น
แม้ว่าบ้านจะแตกต่างไปจาก ที่เคยเป็นมาอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ยังเข้ากับสภาพแวดล้อม ทางประวัติศาสตร์ได้อย่างลงตัว ในขณะที่รายละเอียดภายในให้ความรู้สึกโปร่งสว่าง ทำให้เป็นพื้นที่ที่พิเศษมาก แม้จะเป็นบ้านที่ดูไม่ใหญ่ก็ตาม
Cuckoo House เป็น บ้านสไตล์โมเดิร์น 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำใน Footscray ประเทศออสเตรเลียที่ ตั้งชื่อตามบ้านนาฬิกาแบบดั้งเดิมใน Footscray รัฐวิกตอเรีย ที่อยู่อาศัยเดิม เป็นอาคารเก่าแก่สมัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด และถึงแม้จะเป็นที่รักของเจ้าของมาก แต่การสร้างส่วนต่อขยายด้านหลัง ทำให้ไม่สามารถรักษาอาคารเดิมไว้ได้
ด้วยเหตุนี้สถาปนิกจึงตัดสินใจ ปรับปรุงและต่อเติมใหม่ โดยคงไว้ซึ่งลักษณะบ้านหน้าจั่วแบบเดิม แต่ตัดทอนรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกให้เหลือเส้นสายที่ทันสมัย และยังคงให้ความเคารพต่อฟังก์ชั่นเก่า เช่น การมีเฉลียงหน้าบ้านแต่ เปลี่ยนรูปลักษณ์ใหม่ให้เหมือนเหมือนซุ้มประตูโทริอิ (Torii) ของญี่ปุ่น
ในบ้านเดิมจะวางตำแหน่งห้องนอนที่ด้านหน้า บ้านมีช่องแสงน้อย และช่องเปิดที่ไม่เชื่อมต่อกับเฉลียง หลังคากันสาดหน้าบ้านยื่นสั้นและโค้ง ทำให้บ้านรับแสงได้ไม่มาก การใช้งานระหว่างภายนอกภายในไม่ลื่นไหล จนแทบไม่ได้ออกมาทำ กิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับบ้านใหม่นักออกแบบได้ขยาย เฉลียงด้านหน้าออกไปไกลกว่าเดิม
เพื่อจัดการนำแสงธรรมชาติ เข้ามาสู่ห้องนอนด้านหน้ามากขึ้น ส่วนบ้านข้างหลังที่ต่อเติมใหม่ทำ ออกมาเป็นสไตล์โมเดิร์นหลังคาจั่วเต็มไปด้วยช่องแสงขนาดใหญ่ ที่ชวนให้รู้สึกสบาย บ้านเดี่ยว
ในบ้านเดิมที่ขาดแสง สิ่งที่นักออกแบบทำคือการเพิ่มทั้งขนาดและพื้นที่ของช่องแสงให้ กินบริเวณมากขึ้น ด้วยการติดผนังกระจกครึ่งหนึ่งของอาคารสูงจาก พื้นจรดขอบเพดาน และต่อเนื่องขึ้นไปที่จั่วบ้าน ดึงเอาแสงจากธรรมชาติ เข้าสู่พื้นที่นั่งเล่นได้เต็มที่ตามต้องการ
แทบไม่ต้องเปิดไฟฟ้าส่องสว่าง ในช่วงกลางวัน ความใสของประตูกระจกยังทำหน้าที่เบลอ ขอบเขตระหว่างภายนอกภายใน ให้ผนังดูมีอิสระทางสายตา สามารถมองเห็นวิวสวนเลยขึ้นไป จรดท้องฟ้าแม้ไม่ได้ออกจากตัวบ้าน เมื่อต้องการออก ไปนั่งเล่่นก็เพียงแค่เลื่อนเปิดประตูออก เท่านี้ก็เชื่อมต่อตัวบ้าน กับกลางแจ้งได้อย่างลื่นไหล
ด้วยขนาดพื้นที่บ้านค่อนข้างเล็ก สถาปนิกจึงพยายาม จัดแปลนทำให้มีความยืดหยุ่น ในการออกแบบภายใน ให้ได้มากที่สุด ลดการใช้ผนังก่อทึบแบ่งพื้นที่ ระหว่างห้องครัว พื้นที่ทานข้าว และมุมนั่งเล่น บ้านจึงมีความต่อเนื่อง ในแนวนอน ดูโปร่ง และโล่งสัญจรง่าย ส่วนพื้นที่แนวตั้งก็ใช้ อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยการทำชั้นลอย เพิ่มพื้นที่สำหรับใช้งาน ชั้นบนที่มองเห็นข้างล่าง ได้ชัดเจนเหมือนเป็นสเปซเดียวกัน
การต่อเติมกันสาด และการเลือกใช้กันสาด เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของบ้านในพื้นที่ ที่มีแดดแรงและมีฝน เพราะกันสาดจะทำหน้าที่ปกป้องตัวบ้านจากทิศทางของ แสงและฝนที่สาดผนังบ้าน แต่กันสาดบางรูปแบบ ก็อาจทำให้บ้านดูมืดเกินไป
เช่น กันสาดวัสดุทึบที่ยื่นยาวออกมามาก ๆ ติดตั้งในทิศที่แสงแดดไม่จัด วัตถุประสงค์ให้กันฝนเเป็นหลัก ซึ่งจะทำให้องศาของแสงที่ตกกระทบให้ประโยชน์กับบ้านได้น้อยเกินไป วิธีแก้ไขทำได้ ด้วยการเปลี่ยนจากวัสดุทึบแสง เป็นวัสดุโปร่งแสง จะช่วยกันฝนได้ในขณะที่แสงยังเข้าสู่ตัวบ้านได้ตามต้องการ
แบบที่ 2 บ้านหลังคาจั่ว ผนังกระจก ความคลาสสิคที่บรรจบพอดีกับโมเดิร์น
เสน่ห์บ้านเดิม ๆ เพิ่มเติมความโปร่งใสใกล้ชิดธรรมชาติ บ้านยุคใหม่ ๆ มักจะเน้นการสร้าง บ้านรูปทรงเรียบง่าย และสามารถเข้าถึงธรรมชาติได้ดี แต่สำหรับคนยุคเก่าที่ยังชื่นชอบรูปแบบเดิม ๆ ที่คุ้นตา อย่างบ้านหลังคาทรงจั่ว ก็ปรับบ้านให้ดูทันสมัย ขึ้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติได้เหมือนกันนะ
อาจจะลองเปิดใจเปลี่ยนวัสดุที่ใช้สักหน่อย อย่างเช่น จากผนังไม้ตีปิดทึบทุกด้าน หรือผนังอิฐฉาบปูน ก็เปลี่ยนมาใช้กระจกบ้าง กรอบประตูหน้าต่างที่เคยใช้สีขาวหรือสีไม้ธรรมชาติ ก็หันมาใส่สีดำให้เส้นสายของบ้านชัดเจนขึ้นอีกนิด เท่านี้ก็สร้างบ้านอารมณ์ใหม่ ๆ ทันสมัยแต่ไม่ละทิ้งอารมณ์ของยุคสมัยเก่า ให้ยังหลงเหลือเสน่ห์ให้บ้าน
บ้านหน้าจั่วผนังโปร่งใสลุคน่าสบายหลังนี้ เป็นของอดีตนักสะสมงาน ศิลปะในเมืองนิวยอร์ก ตัวบ้านชั้นเดียวสร้างใน พื้นที่จำกัดและมีความต่างระดับถึง 3 ระดับ สถาปนิกจึงต้องแก้ปัญหาด้วยการวางเสารองรับตัวบ้านในระดับต่าง ๆ กัน และสร้างกลุ่มอาคารหน้าจั่วอยู่ระหว่างดงต้นโอ๊กโบราณ และต้นไม้สกุลข้าวตอกพระร่วง รูปทรงหน้าจั่วนี้ทำให้บ้านดูอบอุ่นเป็นมิตร เน้นใช้วัสดุธรรมชาติอย่างไม้ แผ่นหิน คอนกรีต ให้เข้ากับบริบทโดยรอบ แต่ดูโมเดิร์นขึ้นด้วยการเติม สีดำบริเวณกรอบบ้าน และกระจก ตัดกับงานไม้ธรรมชาติ
ประตูไม้สีน้ำตาลเข้มล้อมรอบ ด้วยผนังกระจกใส จึงโดดเด่นเหมือนลอยอยู่กลางอากาศ ผนังกระจกช่วยขยายมุมมอง ทางสายตาของบ้านออกสู่สวนได้เต็มที่ พร้อม ๆ กับดึงดูดบรรยากาศธรรมชาติรอบ ๆ
เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน แม้จะมีผนัง เป็นกระจกเกือบเต็มพื้นที่ แต่ไม่ต้องกังวลเรื่องความร้อน เพราะมีต้นไม้ให้อาศัยร่มเงาช่วยบังแสงแดด กรอบกระจกประตูหน้าต่างเป็นอลูมิเนียม สีดำขับเน้นให้เส้นสายตาชัดเจนขึ้น และทำให้บ้านหน้าจั่วดูโมเดิร์นขึ้นในสไตล์ Modern Contemporary ที่ลงตัว
หลังคาบ้านจั่วสูง เพดานไม่มีฝ้าปิดทำให้บ้านดูโปร่งสบาย ตีทับโครงหลังคาด้านในด้วยไม้สีอ่อน ๆ เป็นธรรมชาติ ช่วยทำให้บ้านดูละมุนตา อ่อนโยน ในท่ามกลางความเฉียบคม และโปร่งใสของกรอบสีดำและกระจก เจ้าของบ้านเพิ่มชีวิตชีวาให้บ้านนิ่ง ๆ เรียบ ๆ ดูสนุกสนานมีชีวิตชีวาขึ้นด้วยของแต่งบ้านหลากสีสัน
อย่างเช่น พรมสีน้ำเงินเข้ม แจกันสีส้ม หมอนอิงสีเหลือง เก้าอี้สีฟ้าพาสเทล พื้นที่ในบ้านจัดแบบ Open เปิดผนังออกบางจุด เพิ่มที่ว่างน่าสบายกลางบ้าน ต่อเชื่อมต่อพื้นที่ ใช้งานทุกส่วนได้ทั่วถึงกันทั้งหมด
ภายในบ้านนอกจากจะมีช่องว่าง ให้บ้านได้หายใจและสัญจรได้สะดวกแล้ว ยังเจาะช่องแสง Skylight บนเพดาน เพื่อดึงแสงธรรมชาติให้เข้ามาส่องสว่างโดยไม่ต้องพึ่งไฟฟ้าใน ช่วงเวลากลางวัน ผนังหลาย ๆ ส่วนถูกวางจังหวะปิดทึบจากสายตา ของผู้คนภายนอก เพิ่มความเป็นส่วนตัวให้บ้านในจุดที่ต้องการ อย่างผนังทึบกรุแผ่นหินที่มุมทานอาหาร เจ้าของบ้านเลือกติดแขวนโชว์ ผลงานศิลปะที่สะสมเอาไว้ จนทำให้บ้านดูราวกับเป็นแกลเลอรี่ แสดงผลงานศิลปะไปด้วยในตัว
มุมอ่านหนังสือไม่ขาดแสง ด้วยการติดช่องแสงขนาดใหญ่เข้าไปอยู่ ตรงกลางระหว่างช่องเก็บหนังสือสองฝั่ง พื้นที่ว่างตรงกลางมีอาร์มแชร์ตัวหนานุ่มและออตโต มันสตูลชวนให้นั่งอ่านหนังสือสบาย ๆ พร้อมกับชมวิวภายนอกไปด้วย
ความสุนทรีย์ในห้องนอน เริ่มต้นที่เตียงนอนหนานุ่มและจบลงที่เดิมในแต่ละวัน แต่สิ่งที่ทำให้ห้องนี้แตกต่างจากห้องอื่นคือ มุมมองของห้องที่สามารถเก็บเกี่ยวความสดชื่นจากต้นไม้ ดอกไม้ ภายนอกผ่านผนังกระจก ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าจนกระทั่งเข้านอน
บรรยากาศของบ้านยามค่ำดูสว่างเหมือน เป็นตะเกียงดวงใหญ่ ท่ามกลางความโปร่งเบาก็มีจังหวะของความ หนักแน่นและอ่อนโยน เป็นบ้านที่มีความสมดุล ทั้งในเรื่องดีไซน์และวัสดุ มองดูกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ
ข้อดีของบ้านทรงจั่ว
- เป็นบ้านที่หลังคา ที่สามารถรับลมได้ดีที่สุด และก่อสร้างได้ง่ายกว่าหลังคาทรงอื่น
- มีพื้นที่ใต้หลังคามาก มวลอากาศใต้หลังคา จะทำหน้าที่เสมือน เป็นฉนวนอีกหนึ่งชั้น ช่วยกันความร้อน ไม่ให้เข้ามาภายในบ้านได้
- ความลาดเอียงของหลังคา มีประโยชน์ในเรื่องการถ่ายเทน้ำฝน ยื่นชายคาป้องกันแสงแดด มีช่องลมทรงสามเหลี่ยม เพื่อระบายความร้อนได้ดีมากขึ้น
- รูปทรงลาดเอียงของหลังคาทรงจั่ว ทำให้อากาศมีการไหลเวียน ดึงเอาอากาศเย็นจากภายนอกเข้ามา ช่วยระบายความร้อนภายใน
- ด้วยเหตุนี้ บ้านทรงจั่ว จึงเหมาะกับสภาพอากาศเมืองไทยที่ร้อนมากกว่าหนาว และถ้าหากมีการวางทิศทางที่เหมาะสม ยังช่วยรับลมประจำถิ่นได้ด้วย