บ้านริมแม่น้ำ

บ้านริมแม่น้ำ

บ้านริมแม่น้ำ การสร้างบ้านริมน้ำจึงยังเป็นความ ใฝ่ฝันของใครหลายคน แต่พื้นที่ติดน้ำที่หลงเหลืออยู่ใน ปัจจุบันก็น้อยลงเรื่อยๆ ซ้ำแล้งยังอาจเป็นพื้นที่นอกตัวเมืองที่ห่างไกล เป็นสิ่งที่ต้องแลกกัน ระหว่างระยะการเดินทางไป ทำงานที่ไกลมากขึ้นเสียหน่อย กับความสงบ บรรยากาศสบายๆ

บ้านริมแม่น้ำ

บ้านริมน้ำ ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ที่เราจะได้กลับมาเติมพลังงาน ให้กับชีวิตที่เหน็ดเหนื่อยของเรา สำหรับใครที่กำลังเริ่ม สนใจวางแผนสร้างศาลาพักผ่อนริมน้ำ หรือกำลังมองหาบ้านริมน้ำ อย่างจริงจัง และเดินทางมาเจอทำเล ที่เหมาะสมใกล้ความฝันเข้าไปทุกที

ข้อควรรู้ก่อนสร้างบ้านริมน้ำ

1.จะสร้างบ้านริมน้ำ ต้องระวังเรื่องการกัดเซาะดินริมตลิ่ง หรือดินไถล ที่เป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เพราะดินแถวริมตลิ่ง จะมีความอ่อนตัวสูง ไม่ค่อนจับตัวกัน ยิ่งโดนน้ำเซาเข้ามากๆ ก็จะพังทลายลงได้อย่างง่ายดาย การแก้ปัญหาคือ ทำแนวป้องกันตลิ่งพังทลายด้วยการสร้างรั้ว มีคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • เริ่มต้นวัดความลึกของแหล่งน้ำ หากเป็นคลองหรือแม่น้ำ ก็วัดลึกลงไปถึง พื้นล่างสุดก้นคลอง ระยะความลึกอยู่ ที่ประมาณไม่เกิน 4 เมตร นำตัวเลขความลึกที่ได้ไปคูณ กับเลขปัจจัยตัวประกอบที่ 1.25 – 1.5 ได้ผลลัพธ์เอามาออกมาบวกกับระดับความสูงคลองเดิมที่วัดได้ เพื่อหาความยาวของเสาเข็ม ที่จะต้องใช้ดังตัวอย่างสมการ เมื่อให้ a เป็น ความลึกที่วัดได้ a + (a x 1.25) = ความยาวเสาเข็มที่จะทำแนวรั้ว(ค่าตัวเลขไม่เกิน 10 เมตร)
  • ควรเลือกใช้เสาเข็มรูปตัวไอ (I – Section) เพราะเราจะไม่ต้องก่ออิฐทำกำแพงรั้วซ้ำอีก การใช้เสาเข็มรูปตัวไอทำให้เราสามารถใส่แผ่นพื้นสำเร็จรูปลงในช่องว่างร่องเข็มได้ ปรับเปลี่ยนให้เป็นรั่วกันกำแพงดิน ป้องกันหารพังทลายได้ทันที และเสาเข็มชนิดนี้ยังมีสมบัติการรับแรงเสียดทาน ที่ผิวสัมผัสได้สูงกว่าแบบอื่นๆ

บ้านริมแม่น้ำ

2.ทำการสำรวจแนวเขตที่ดินที่ จะสร้างอาคารให้รอบคอบ ก่อนตัดสินใจสร้างจริงนะครับ เพราะถ้าล้ำออกมาก เกินแนวเขตพื้นที่ของเราทั้งในคลองหรือแม่น้ำ กรมเจ้าท่ามีสิทธิ์ ร้องเรียนหรือสั่งหยุด การก่อสร้างได้ทันทีนะ เพราะกรมเจ้าท่าดูแลพื้นที่ ที่เป็นแหล่งน้ำทั้งหมด ถือเป็นกรมสิทธิ์พื้นที่ของหลวง และอย่าลืมเรื่องของกฎหมายเรื่อง set-back ระยะถอยร่นอาคาร ประเภทการก่อสร้างอาคารพื้นที่ติดแหล่งน้ำสาธารณะ ที่ระบุไว้ว่า

  • การสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ติดแหล่งน้ำสาธารณะที่น้อยกว่า 10 เมตร ต้องสร้างห่างจากเขตอย่างน้อย 3 เมตร
  • การสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ติดแหล่งน้ำสาธารณะที่มากกว่า 10 เมตร ต้องสร้างห่างจากเขตอย่างน้อย 6 เมตร
  • การสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ติด แหล่งน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ พวกทะเลสาบ หรือทะเล ต้องสร้างห่างจากเขตอย่างน้อย 12 เมตร

แต่ก็มีข้อยกเว้นเฉพาะกรณีไป ด้วยการทำเรื่องขออนุญาตกับหน่วยงานราชการ เช่นตัวอย่างกรณีสร้างเป็น ป้าย สะพาน รั้ว ท่าเรือ อู่เรือ เป็นตัน

3.ตรวจวัดระดับน้ำขึ้นสูงสุด สามารถขอข้อมูลได้ จากกรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ หรือสังเกตด้วยตัวเองที่ เสาสะพานใกล้ๆ ในแม่น้ำ ลำคลอง ให้ดูรอยเส้นน้ำท่วมเสา จะมีเส้นน้ำขึ้นสูงสุดอยู่ แล้วเอามาเปรียบเทียบกับระดับดินที่ จะก่อสร้างอาคารจริง ถ้าเส้นน้ำท่วมเสาสูงกว่าระดับดิน หมายความว่า น้ำท่วมบ้านของคุณแน่นอน ทางออกคืออาจต้องถมดินให้สูงขึ้น หรือทำกำแพงกันน้ำท่วมอีกชั้นหนึ่ง ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ น้ำท่วมถึงแบบนี้ได้ หาพื้นที่ทำเลอื่นได้ก็จะเป็นการดี เพื่อตัดไฟแต่ต้นลมไปเลย

4.ทิศทางของแหล่งน้ำ เป็นปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่จะ ส่งผลต่อผู้อยู่อาศัยแน่นอน ถ้าแหล่งน้ำทางทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตกของบ้าน จะเป็นทิศที่รับแสงแดดเข้าโดยตรง บ้านที่จะสร้างควรห่างจากแหล่งน้ำเพื่อหลบเลี่ยงแสงแดดที่สะท้อนผิวน้ำมาโดนบ้านของเรา ถ้าบ้านติดน้ำมากเกินไป จะได้รับผลกระทบจากแสงอาทิตย์ที่สะท้อนพื้นน้ำ กลายเป็นกระจกสะท้อนแดดสาดเข้ามาในบ้าน

ทั้งเพิ่มความรู้สึกอบอ้าวให้กับ เราแทนที่จะเป็นบรรยากาศน่าสบาย คนในบ้านยังต้องคอยหยีตาเ พราะแดดที่ส่องเข้ามาอีกด้วย แต่ถ้าคุณมีที่ดินเหลือไม่พอที่ จะหลบหลีกแสงสะท้อน หรือลงมือสร้างไปแล้วเกิน จะถอยหลังกลับ ยังสามารถใช้วิธีธรรมชาติ ด้วยการปลูกไม้ใหญ่ริมน้ำ เป็นฉากบังแสงให้กับเราแทนได้ แถมได้ภาพมุมต้นไม้ ร่มรื่นริมน้ำติดมาด้วย

สำหรับทิศทางที่เหมาะสมที่สุดเรา แนะนำคือเป็นทิศใต้ เพราะทิศใต้เป็นทิศทาง ที่ลมจะพัดพาละอองน้ำเข้าสู่ตัวบ้าน ทำให้มีลมเย็นสบายๆ เข้ามาสัมผัสกับตัวเรา แต่ก็ต้องหลีกเลี่ยงสร้างห้องครัว ห้องน้ำ ทางทิศรับลมแบบนี้ เพราะลมก็จะพัดกลิ่น ควันจากการทำอาหาร หรือจากห้องน้ำย้อนกลับ เข้ามาที่บ้านของเราแทนได้

แบบที่ 1 บ้านสวยริมน้ำ กระท่อมหลังใหญ่ สร้างความผ่อนคลาย

บ้านริมแม่น้ำ

กระท่อมหลังใหญ่ สองชั้นงดงามริมแม่น้ำ เพียงแค่ภาพแรกของบทความชุดนี้ ก็สามารถสร้างความผ่อนคลายได้อย่างมาก โดยไม่ต้องอ่านคำบรรยาย ระเบียงบ้านชั้นสองที่มองเห็นวิวแม่น้ำใกล้บ้าน มองไปในทางใดก็สัมผัสได้ถึงความสดชื่น ความผ่อนคลายไม่ได้มาจากสิ่งแวดล้อมรอบบ้านเพียงอย่างเดียว แต่ส่วนหนึ่งได้มาจากการออกแบบที่แสนน่ารักและมีความเป็นธรรมชาติ บ้านจัดสรร

บ้านสองชั้นสร้างขั้นในปี ค.ศ. 2008 ระยะเวลา 7 ปี ไม่ได้ทำให้บ้านหลังนี้น่าอยู่น้อยลงเลย ตัวบ้านแต่งด้วยไม้ทาสีน้ำเงินอมเทา หลังคาหน้าจั่ว ใช้วัสดุ Shingles Roof ประตู หน้าต่างกระจก เพิ่มความปลอดโปร่ง โดยเฉพาะบนชั้นสอง ห้องแฟมิลี่หรือพื้นที่ส่วนรวมของบ้านติดผนังกระจกบานใหญ่มองเห็นวิวภายนอกอย่างถนัดตา เชื่อมต่อกับระเบียงกว้าง จัดวางโต๊ะเก้าอี้ไม้ ทนต่อสภาพอากาศภายนอก ภายในบ้านใช้สีขาวทาผนังตัดกับสีน้ำตาลเข้มของไม้ มุมนั่งเล่น มุมครัวไม่มีผนังกั้น เชื่อมโยงถึงกันอย่างเป็นอิสระ

แบบที่ 2 บ้านวิวสวย โมเดิร์นริมน้ำ บรรยากาศดี

บ้านวิวสวย โมเดิร์นริมน้ำ บรรยากาศดี

บ้านชั้นเดียวมีดาดฟ้า มองวิวได้ตลอดทั้งวัน หากมีที่ดิน ที่มองเห็นวิวสวยๆ อยู่ติดริมแม่น้ำหรือทะเลสาบ เจ้าของบ้านคงอยากจะเก็บเกี่ยวความสวยงามของธรรมชาติ ที่อยู่ตรงหน้าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การออกแบบบ้าน จึงต้องสอดคล้องและมีการเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมภายนอก

ไม่ปิดกั้นการมองเห็น ทัศนียภาพที่งดงาม และบ้านชั้นเดียวที่นำ มาให้ชมหลังนี้ ก็สามารถตอบโจทย์ได้อย่างยอดเยี่ยม ทั้งรูปทรงที่ทันสมัย ภายในที่ปลอดโปร่ง สามารถดื่มด่ำกับ ธรรมชาติรอบด้านได้ในทุกที่ ทุกเวลาจริงๆ

ภายในวิวสวย

บนพื้นที่ขนาด 252 ตารางเมตร สร้างบ้านชั้นเดียวสไตล์โมเดิร์น ด้วยพื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเลสาป ความเป็นธรรมชาติยังคงอุดมสมบูรณ์ สถาปนิกจึงใช้ผนังกระจกบานใหญ่ๆ เพื่อให้มองออกไปข้างนอก ในมุมกว้างๆ ได้อย่างเต็มตา Luxury Villa

เจ้าของบ้านจะได้ไม่พลาด ชมวิวทิวทัศน์อันงดงาม เฟอร์นิเจอร์ โทนสีภายในเป็นโทนสีเข้ม แม้จะให้ความรู้สึกที่เคร่งขรึม แต่ก็ได้ความสงบแถมมาด้วยเช่นกัน มุมชมวิวไม่ได้มีเพียงแค่ในบ้าน สถาปนิกได้ออกแบบให้มีดาดฟ้าไว้ ขึ้นไปนั่งชมวิว หรือจัดปาร์ตี้ปิ้งย่างชิวๆกับครอบครัว

บ้านริมแม่น้ำ การสร้างบ้านริมน้ำจึงยังเป็นความ ใฝ่ฝันของใครหลายคน แต่พื้นที่ติดน้ำที่หลงเหลืออยู่ใน ปัจจุบันก็น้อยลงเรื่อยๆ ซ้ำแล้งยังอาจเป็นพื้นที่นอกตัวเมืองที่ห่างไกล