แบบบ้านแต่ละสภาพอากาศ

แบบบ้านแต่ละสภาพอากาศ

แบบบ้านแต่ละสภาพอากาศ ข้อควรรู้ออกแบบบ้านอย่างไร ให้เหมาะกับสภาพ อากาศในประเทศไทย บ้านร้อน ถือเป็นปัญหาโลกแตก ที่แก้ได้ยากมาก ถึงมากที่สุดในประเทศไทย เพราะอย่างที่ทราบกันว่าไทย เป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้น ดังนั้น จึงไม่สามารถหลีกหนีสภาพอากาศที่ร้อนจัดไปได้ หนำซ้ำยังส่งผลกระทบ เข้ามาถึงภายในตัวบ้าน

แบบบ้านแต่ละสภาพอากาศ

โดยปัญหาที่มักพบคือ ความร้อนจากภายนอกบุก เข้ามาภายในบ้าน ทำให้เกิดความร้อนสะสม และอากาศไม่มีการระบาย ส่งผลให้อึดอัด ประหนึ่งว่าอยู่ในเตาอบที่มีอุณหภูมิ ความร้อนสูงปรี๊ด ทั้งนี้ทั้งนั้น จะโทษสภาพอากาศเพียงอย่างเดียว ก็ไม่ถูกไปเสียทั้งหมด เพราะสาเหตุที่เกิดความร้อน สะสมภายในบ้าน

ส่วนหนึ่งมาจากการออกแบบบ้าน ที่ไม่เหมาะกับสภาพอากาศในประเทศไทย อีกทั้งไม่มีช่องลมให้ อากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือไม่ติดฉนวนกันความร้อน ก็ส่งผลทำให้เกิดปัญหา บ้านร้อนหนักมากที่สาหัสเช่นกัน

ข้อควรรูบ้านแบบให้เหมาะกับสภาพอากาศในประเทศไทย

1.สร้างในทิศทางที่เหมาะสม
ทิศทางการสร้างบ้านเป็นหนึ่งใน สิ่งที่ควรให้ความสำคัญมาเป็นลำดับต้นๆ โดยแนะนำให้สร้าง บ้านทางทิศใต้ เนื่องจากเป็นทิศทางลมที่เข้าออกบ้านได้ดี ช่วยให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก อีกทั้งการสร้างบ้านที่คำนึงถึงช่วงฝนตก ก็เป็นอีสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อจะได้ป้องกันไม่ให้ น้ำฝนกระเด็นเข้ามาในตัวบ้าน ส่งให้เกิดความเสียหาย ตามมาภายหลัง

2.เลือกใช้วัสดุกันความร้อน
เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยลดปัญหา บ้านร้อนได้ดีไม่น้อย โดยกระเบื้องประเภทดินเผาเป็นวัสดุ ที่ช่วยทำให้บ้านเย็น หรือเลือกกระเบื้องโทนสีอ่อน เนื่องจากสามารถ สะท้อนความร้อนได้ดี และวัสดุที่ควรหลีกเลี่ยงใน การสร้างบ้านคือ การตกแต่งผนังบ้านด้วยอิฐ เพราะหากก่ออิฐไม่ดีก็มีส่วน เกิดความร้อนสะสมภายในบ้าน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยการ ก่ออิฐมอญที่มีความหนาประมาณ 20 เซนติเมตร ซึ่งความร้อนจะผ่านเข้ามาได้ยาก นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยง การใช้กระเบื้องที่ประเภทซีเมนต์ เพราะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ ทำให้เกิดปัญหาความร้อนสะสมภายในบริเวณบ้าน

3.ผนังบ้านที่เหมาะสม
ผนังเฉดสีอ่อนจะไม่เกิด การสะสมความร้อน ภายในบ้านเท่ากับโทนสีเข้ม อีกทั้งยังทำให้เกิดปัญหา บ้านร้อนอบอ้าว ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่าลืมทาสีกันชื้นก่อนลงสีจริง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อราบนผนัง หรือสีหลุดล่อนในภายหลัง

4.ออกแบบหลังคาที่ให้มีช่องระบาย
หลังคาถือเป็นบริเวณที่ ต้องรับแสงแดดโดยตรง ดังนั้น แนะนำให้เลือกสร้างหลังคาทรงปั้นหยา ทรงจั่ว หรือเพิงหมาแหงน โดยจะช่วยให้ไม่ให้เกิดความร้อนสะสมภายในบ้าน นอกจากนี้ควรสร้างฝ่าชายคา ให้มีช่องระบายอากาศ หรือติดฉนวนกันความร้อนเพื่อให้สะท้อนความร้อนจากภายนอกออกไป อีกทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้ เกิดความร้อนในบ้านอีกด้วย บ้านเดี่ยว

5.สร้างที่บังแดดให้ตัวบ้าน
อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยป้องกัน แสงแดดจากภายนอก ก็คือการติดตั้งกันสาด หรือระแนง โดยการยื่นออกมาจากผนังบ้าน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยป้องกันแสงแดดไม่ให้สาดส่องเข้ามาภายในตัวบ้าน

6.สร้างช่องระบายอากาศ
การสร้างช่องระบาบอากาศภายในบ้าน เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยทำให้ อากาศถ่ายเทสะดวก ลดปัญหาบ้านมีความร้อนสะสม และมีความอบอ้าวที่เหมือนอยู่ในเตาอบ ที่สำคัญคือควรเปิดหน้าต่างเพื่อเป็นการระบายอากาศ เพื่อให้มีลมเข้าออกภายในบ้าน

7.ติตตั้งฉนวนกันความร้อน
เป็นวิธีที่ช่วยป้องกันแสงแดด จากภายนอกได้ดีทีเดียว โดยแนะนำให้ติดตั้งฉนวนกัน ความร้อนบริเวณหลังคา หรือบริเวณผนังบ้าน

1.เขตร้อน

แบบบ้านแต่ละสภาพอากาศ

แบบบ้านที่เหมาะภูมิอากาศแบบเขตร้อน

หลายคนได้ยินว่าเขตร้อนก็อาจจะจินตนาการไปถึงทะเลทรายแต่จริงๆ แล้วสภาพอากาศแบบนี้คือบ้านเราเลย ซึ่งภูมิอากาศในเขตนี้โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 27 องศาเซลเซียส

ลักษณะของบ้าน : มักเน้นที่ช่องหรือปล่องให้ลมไหลเวียน ภายในตัวบ้าน เพื่อไม่ทำให้บ้านร้อน

ครอบคุมในพื้นที่ : ไทยตอนใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนิเซีย ติมอร์เลสเต บรูไน เป็นต้น

แบบบ้านแต่ละสภาพอากาศ

แบบบ้านที่เหมาะกับภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน

ต้องบอกก่อนว่าภูมิอากาศแบบมรสุม เขตร้อนไม่ค่อยต่างจาก สภาพอากาศบ้านเราสักเท่าไหร่ เพราะอากาศโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 20 องศาเซลเซียส

ลักษณะของบ้าน : แบบบ้าน ก็คล้ายๆ กันที่มีช่องให้ลมไหลผ่าน ภาพไหลก็โปร่งโล่ง ใต้หลังคาไม่ติดเพดาน เพื่อให้ลมไหลเวียนดี แต่คุณสมบัติของบ้านคล้ายแต่เรื่องโครงสร้าง แตกต่างกันเนื่องจากวัฒนธรรมและศาสนา

ครอบคุมในพื้นที่ : ตอนใต้ของประเทศไลบีเรียร์ ประเทศโกตติวัวร์

2.เขตแห้งแล้ง

แบบทะเลทรายเขตอบอุ่น

แบบบ้านที่เหมาะกับภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตอบอุ่น

ภูมิอากาศแบบนี้มักจะพบในประเทศแถบเอเชียกลาง ช่วงหน้าร้อนจะร้อนยาวนาน ช่วงหน้าหนาวจะเย็นมาก

ลักษณะของบ้าน : ก็มักจะค่อนข้างแข็งแรง รูปทรงแบบ บ้าน อาหรับ มีความหรูหรา สวยงาม

ครอบคลุมในพื้นที่ : ประเทศเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน คาซัคสถาน

3.เขตเย็น

แบบบ้านที่เหมาะกับภูมิอากาศเขตทรุนดา

แบบบ้านที่เหมาะกับภูมิอากาศเขตทรุนดา

เป็นภูมิอากาศที่มีความเย็นตลอดทั้งปีมีฤดูร้อนแบบสั้นๆ อากาศหนาวสุดอยู่ที่ -18 องศาเซลเซียส และร้อนที่สุดอยู่ที่7-10 องศาเซลเซียส

ลักษณะของบ้าน : แบบบ้านก็จะเน้นความหน้าของกำแพง และความแข็งแรงของหลังคา ที่ต้องรองรับน้ำหนักของหิมะ และมีความชันมากเป็นพิเศษ เพราะกาหากเป็นทรงหลังคาแบบไทย ผมว่าบ้านต้องมีถล่มแน่นอน อย่างไรก็ตาม การอาศัยอยู่มนสภาพภูมิอากาศแบบนี้ค้องมีเตาผิงและฮีตเตอร์ด้วยนะ เพื่อเพิ่มความอบอุ่นภายในบ้าน

ครอบคลุมในพื้นที่ : แคนาดา รัฐอะลาสกาของสหรัฐอเมริกา ชายฝั่งเกาะกรีนแลนด์ และตอนเหนือของรัสเซีย

4.เขตอบอุ่น

แบบบ้านที่เหมาะกับภูมิอากาศเขตอบอุ่นชื้น

แบบบ้านที่เหมาะกับภูมิอากาศเขตอบอุ่นชื้น
เจอทั้งอากาศร้อนอากาศเย็นมาแล้ว มีพบกับอากาศอบอุ่นบ้าง อุ่นจริงหรอหึ ไม่ได้อุ่นสักเท่าไหร่เลย เขตอบอุ่นเป็นเขตที่มีหน้าร้อนที่มีฝนตก และหน้าหนาวที่มีหิมะตก และหนาวจัด

ลักษณะของบ้าน : ก็จะเน้นที่โครงสร้างหลังคารับน้ำหนักหิมะได้ และระบายความร้อนได้ในช่วงหน้าร้อน และความพิเศษของประเทศญี่ปุ่นคือเป็นประเทศที่เป็นเกาะ และตั้งอยู่บนวงแหวนไฟ ซึ่งเป็นแนวของภูเขาไฟใต้น้ำ มักจะส่งผลให้เปิดแผ่นดินไหว และสึนามิบ่อยๆ วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง มักจะเน้นที่การใช้ที่แข็งแรงเป็นพิเศษ

ครอบคลุมพื้นที่ : บริเวณภาคตะวันออกของประเทศจีน ภาคใต้ของประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลีใต้ ฮ่องกง ตอนเหนือของประเทศอินเดีย ลาว และตอนเหนือของประเทศเวียดนาม

5.เขตหนาว

แบบบ้านที่เหมาะกับภูมิอากาศเขตหนาวชื้นภาคพื้นทวีป

แบบบ้านที่เหมาะกับภูมิอากาศเขตหนาวชื้นภาคพื้นทวีป
มีฤดูหนาวมีมวลอากาศเย็นปกคลุมเป็นเวลานาน ถือได้ว่าเป็นพื้นที่ที่หนาวเย็นตลอดทั้งปี ในช่วงฤดูร้อนมีความอบอุ่นไม่ร้อน

ลักษณะบ้าน : ลักษณะบ้านคือเน้น ที่ความเรียบง่ายเน้นที่การใช้งาน มากกว่าความสวยงาม เนื่องจากมีอากาศหนาว ก็จะไม่ค่อยมีช่องระบายลมหรือหน้าต่างที่มากจนเกินไป แต่จะเน้นที่โครงสร้าง ที่เก็บความร้อนได้ดี คือโถงไม่กว้างเกินไป

ครอบคลุมในพื้นที่ : ประเทศจีนตะวันตกเฉียงเหนือเขต ปกครองตนเอง กวางสี มองโกเลียใน หนิงเซี่ย ทิเบต

6.เขตที่สูง

แบบบ้านที่เหมาะกับภูมิอากาศเขตสูงและภูเขา

แบบบ้านที่เหมาะกับภูมิอากาศเขตสูงและภูเขา
ลักษณะพื้นที่ค่อนข้างจะเป็นภูเขา ไม่ค่อยเป็นที่ราบสักเท่าไหร่ อากาศจึงจะลดต่ำลงตามความสูงของพื้นที่และมีปริมาณของก๊าซออกซิเจนลดลงเช่นกัน ทำให้บริเวณนี้มีอากาศหนาวเย็น

ลักษณะของบ้าน : เน้นความแข็งแรงที่ตัวบ้านซึ่งค่อนข้างหนา หลังคามีมุมที่ไม่ค่อยชัน คล้ายกับของไทย ละมีโถงที่กว้างแต่ไม่สูง

ครอบคลุมในพื้นที่ : ภูฐาน เนปาล และเขตปกครองตนเองธิเบตของประเทศจีน

แบบบ้านแต่ละสภาพอากาศ ข้อควรรู้ออกแบบบ้านอย่างไร ให้เหมาะกับสภาพ อากาศในประเทศไทย บ้านร้อน ถือเป็นปัญหาโลกแตก ที่แก้ได้ยากมาก ถึงมากที่สุดในประเทศไทย