แบบบ้านเขตร้อน

แบบบ้านเขตร้อน

แบบบ้านเขตร้อน บ้านร้อน! ถือเป็นปัญหาโลกแตก ที่แก้ได้ยากมากถึงมากที่สุดในประเทศไทย เพราะอย่างที่ทราบกันว่าไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้น ดังนั้น จึงไม่สามารถหลีกหนี สภาพอากาศที่ร้อนจัดไปได้ หนำซ้ำยังส่งผลกระทบ เข้ามาถึงภายในตัวบ้าน

แบบบ้านเขตร้อน

โดยปัญหาที่มักพบคือ ความร้อนจากภายนอกบุก เข้ามาภายในบ้าน ทำให้เกิดความร้อนสะสม และอากาศไม่มีการระบาย ส่งผลให้อึดอัด ประหนึ่งว่าอยู่ในเตาอบที่มี อุณหภูมิความร้อนสูงปรี๊ด! ทั้งนี้ทั้งนั้น จะโทษสภาพอากาศเพียงอย่างเดียว ก็ไม่ถูกไปเสียทั้งหมด เพราะสาเหตุที่เกิด ความร้อนสะสมภายในบ้าน ส่วนหนึ่งมาจาก การออกแบบบ้านที่ไม่เหมาะ กับสภาพอากาศในประเทศไทย อีกทั้งไม่มีช่องลมให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือไม่ติดฉนวนกันความร้อน

ไอเดียบ้านเขตร้อน สไตล์โมเดิร์นทรอปิคอล

แบบบ้านเขตร้อน

บางทีการสร้างบ้านก็ไม่ใช่เรื่องของเราคนเดียว เพราะบ้านคือหน่วยนสังคมที่เล็กที่สุดในการเริ่มต้น สร้างสิ่งที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับสังคมและโลกได้ De Earth ก็เป็นอีกหนึ่งสถาปนิกใน Calicut รัฐ Kerala ที่ตั้งใจสร้างสถาปัตยกรรมที่รับผิ ดชอบต่อสังคม พวกเขาพร้อมทีมงานมืออาชีพใหม่ ประกอบด้วย สถาปนิก

นักออกแบบเมือง วิศวกร และนักคิดทางสังคม ได้เข้ามาร่วมกันทำงานเกี่ยวกับ การออกแบบบ้านแห่งนี้ใน Saligramam เจนไน ประเทศอินเดีย ด้วยวิสัยทัศน์ที่คำนึงถึงธรรมชาติ และตอบสนองตามบริบทของสังคม และสภาพอากาศเป็นหลัก สร้างอนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

คนเรามักเป็นความสุขเสมอ เมื่อได้อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ บ้านที่รายล้อมไปด้วยอาคาร คอนกรีตรอบด้านคงไร้ชีวิตชีวา สถาปัตยกรรมที่ดีต่อคุณภาพชีวิตจึงควรมีการเชื่อมต่อ กับภูมิทัศน์ได้อย่างลงตัว ชีวิตภายในจะมีความกลมกลืน และเต็มไปด้วยจิตวิญญาณ ของความสงบ จากแนวคิดดังกล่าวจึงออกมา เป็นบ้านสองชั้นขนาด 724.6 ที่เปิดอ้าแขนรับความโล่งสบาย รอบด้านเต็มไปด้วยวัสดุและธรรมชาติที่คุ้ยเคย ให้บ้านเป็นทางหนีภัยอันเงียบสงบ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสดชื่น ของต้นไม้ท่ามกลางป่าคอนกรีต ที่หนาแน่นในเมือง

แบบบ้านเขตร้อน

บ้าน สร้างขึ้นสำหรับครอบครัว 5 คน ประกอบด้วย 2 อาคารขนานกันมีศาลาทานอาหาร และสวนเป็นตัวเชื่อม เมื่อมองจากมุมบนจะเห็นเป็นลักษณะตัว H ทางเข้าไซต์ถูกจัดเตรียม จากด้านตะวันออก

เพื่อให้มั่นใจถึงความเป็นส่วนตัวสูงสุด และการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ทางเข้าในช่วงเปลี่ยนผ่านเรียงราย เต็มไปด้วยแมกไม้เขียวขจียินดีต้อนรับผู้มาเยือนอย่างสดชื่น เป็นการจัดระเบียบเพื่อให้มีบ้านบรรยากาศ ของการพักผ่อน ที่จำเป็นมากในการแยกพื้นที่ บ้านออกจากความโกลาหลภายนอก

จากสวนหน้าบ้านจะนำเข้า สู่เฉลียงบ้านที่มีพื้นที่นั่งเล่นชมวิวสบาย ๆ จากนั้นจะเป็นพื้นที่ใช้สอยส่วนอาคารด้านหน้า ซึ่งประกอบด้วย พื้นที่ส่วนกลาง อย่างเช่น ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่นพักผ่อน ห้องทานข้าว และห้องครัว ส่วนชั้นที่สองจะเป็นห้องนอน และพื้นที่ปูจาสวดมนต์บูชา ด้วยวิธีนี้ทำให้สมาชิกในบ้านยังสามารถ รักษาความเป็นส่วนตัวได้ แม้ในขณะที่กำลังใช้พื้นที่ บ้านต้อนรับแขก

พื้นที่รับประทานอาหารตั้งอยู่ระหว่างลานกลางบ้าน 2 แห่ง นักออกแบบจึงใส่ประตูขนาดใหญ่ที่เปิดออก ได้กว้างเชื่อมระหว่างพื้นที่สีเขียวทั้งสอง กลายเป็นศาลาโล่งๆ ขนาดใหญ่ที่รับลมเย็นสบายได้เต็มที่ ทั้งกลางวันและกลางคืน สร้างบรรยากาศในการทานอาหารให้สุนทรี

ห้องครัวเปิดออกสู่ลานภายในที่ห่อล้อมด้วยจาลี (บานหน้าต่างลายแลททิซ) และกระจก ในขณะที่ฝั่งตรงข้ามเปิดทิ้งไว้เพื่อรับฝนและแสงแดด กลิ่นอายของธรรมชาติปรากฏขึ้นในลานบ้านโดยการหุ้มด้วยเศษหินหรืออิฐแบบฟรีฟอร์มบนผนังบ้าน ชั้นของอิฐพอร์เทอร์มที่ด้านหน้าอาคาร และหิน ไม้ ช่วยลดปริมาณความร้อนของโครงสร้างได้อย่างมาก

ลานสวนขนาดใหญ่ภายในที่คลี่คลาย

พื้นที่ว่างเปิดออกสู่ท้องฟ้า (open plan) ทำหน้าที่เป็นแกนในสุดของบ้าน จัดเป็นลานสวนขนาดใหญ่ภายในที่คลี่คลายมาจากห้องทานข้าว ซึ่งกินพื้นที่ถึง 2/3 ของไซต์ ลานภายในที่มองเข้าด้านในนี้ถูกปิดบังอย่างอ่อนโยนจากพื้นที่โลกภายนอก จึงสามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ เป็นการผสมผสานสิ่งที่แตกต่างออกไปทั้งภายนอกและภายในให้เป็นส่วนเดียวกันที่กลมกลืน

มุมตะวันตกเฉียงใต้ของอาคารมีสองชั้นสูงตระหง่าน ซึ่งความสูงที่มากกว่าอีกอาคารนี้จะทำหน้าที่เป็นร่มเงาจากดวงอาทิตย์ที่แผดเผารุนแรงในเจนไน ในพื้นที่นี้สร้างช่องเปิดเชื่อมต่อพื้นที่อาคารกับธรรมชาติ ให้ชั้นบนมองเห็นลานด้านล่าง ส่วนชั้นล่างก็เปิดเชื่อมต่อกับพื้นที่กลางแจ้งแบบไดนามิก

ด้วยมวลอาคารที่มีหลังคาลาดเอียงและโครงสร้างที่เชื่อมต่อกันอย่างระมัดระวัง เสริมด้วยการใช้วัสดุจากธรรมชาติ ที่พักอาศัยนี้จึงกลายเป็นเหมือนโอเอซิสท่ามกลางสภาพแวดล้อมคอนกรีตที่ไม่ธรรมดา

โมเดิร์นทรอปิคอล เป็นอีกหนึ่งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับความนิยมในเขตร้อนชื้น แปลนบ้านจะเน้นช่องเปิดขนาดใหญ่รับลมและระบายอากาศร้อน มีช่องแสงในตำแหน่งที่พอดีและมีการวางแผนจัดการกับแสงที่เกินความต้องการด้วยการติดตั้งฟาซาด ระแนง ฉาก หรือแนวต้นไม้ ในจุดที่แสงรุนแรง

จุดเด่นที่เห็นได้ชัดของบ้านสไตล์นี้คือ Space โปร่ง โล่ง และการตกแต่งภูมิทัศน์ภายนอกภายในเน้นให้ผู้อยู่อาศัยได้สัมผัสใกล้ชิดกับกลิ่นอายของธรรมชาติผ่านวัสดุและต้นไม้ที่รายล้อม

ไอเดียบ้านชนบทที่ดูทันสมัย เขตร้อน

บ้านชนบทที่ดูทันสมัย เขตร้อน

โจทย์ของผู้อยู่อาศัยบางครั้งก็ท้าทายการทำงานของสถาปนิก เพราะบางสิ่งก็เหมือนจะไม่เข้ากัน ต้องใช้ความคิดให้เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ในขณะเจ้าของบ้านยังยอมรับได้ อย่างบ้านหลังนี้ในบราซิล

เจ้าของบ้านบอกความต้องการเบื้องต้นมาซึ่งไม่มาก คือ อยากได้บ้านที่มีหลังคาจั่วชายคากว้างและมุงกระเบื้องเซรามิกแบบดั้งเดิม แต่ก็อยากให้มีกลิ่นอายบ้านสไตล์โมเดิร์น แม้จะเป็นคำขอสั้น ๆ แต่ดูเหมือนมีความขัดแย้ง เพราะต้องตีความการนำความทันสมัยมาผสมผสานให้เข้ากันกับพื้นถิ่น ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรต้องตามไปดูด้วยกัน

GS House เป็นบ้านในชนบทออกแบบโดยสถาปนิกชาวบราซิล Jacobsen Arquitetura ตั้งอยู่ใน Itu, São Paulo มีพื้นที่สร้างกว่า 1,190 ตารางเมตร จากโจทย์ที่ได้รับ

สถาปนิกจึงตีความออกมาในลักษณะของบ้านรูปร่างตัว L ที่มีบ้านหลังคาลาดเอียงแบบเพิงหมาแหงน มุงกระเบื้องดินเผา ผนังตกแต่งหิน โครงสร้างบ้านเป็นไม้ มีประตูกระจกบานใหญ่ ชายคายื่นออกไปค่อนข้างกว้าง ภายในมีสเปซโล่งกว้างแบบบ้านสมัยใหม่แต่ได้สัมผัสความเป็นบราซิลชัดเจน

บ้านชนบทที่ดูทันสมัย

สวนกว้าง ๆ เป็นปอดของบ้าน ทางเข้าบ้านถูกทำให้เป็นจุดโฟกัสสายตาด้วยสวนภายในขนาดใหญ่ที่ฉาบทาด้วยแสงธรรมชาติ ซึ่งตรงส่วนนี้ทำหน้าที่เหมือนปอดของอาคารและมีหน้าที่ในการกระจายกระแสลม แสง สำหรับพื้นที่อาคารที่อยู่ใกล้ชิดผ่านประตูกระจกบานใหญ่ที่เชื่อมต่อกับเฉลียง ห้องนั่งเล่น อยู่ล้อมติดกันและเปิดโดยตรงไปยังสวนและสระว่ายน้ำซึ่งหันหน้าเข้าหาป่าเขียว ๆ ทำให้บ้านสดชื่นและเย็นสบายสอดรับกับบ้านในเขตร้อนชื้นได้เป็นอย่างดี บ้านหรู

ห้องทานข้าวผนังเปิดโล่งเชื่อมต่อสระว่ายน้ำ บ้านในบราซิลจะนิยมสร้างด้วยไม้ท้องถิ่น อิฐ และกระเบื้องดินเผา ซึ่งสถาปนิกได้นำมาเป็นส่วนประกอบใหญ่ ๆ ของบ้านทั้งส่วนหลังคา ผนัง ไปจนถึงเพดาน ส่วนฟังก์ชันการใช้งานแะลแปลนบ้านจัดแบบ open plan แบบสมัยใหม่ คือการลดผนังลงให้เหลือน้อยที่สุด

รวมพื้นที่ใช้งานหลาย ๆ ส่วน อาทิ ห้องนั่งเล่น ครัว ห้องทานอาหารเรียงเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความลื่นไหลต่อเนื่องของพื้นที่ ไม่เฉพาะเชื่อมต่อพื้นที่ภายในเท่านั้นยังเน้นการเบลอขอบเขตระหว่างภายในภายนอกผ่านช่องเปิดขนาดใหญ่และกระจกใสในส่วนของผนังด้วย

ใส่ธรรมชาติให้เป็นส่วนหนึ่งของบ้าน ในส่วนของการตกแต่งภายในบ้าน แทรกบรรยากาศความเป็นเอเชียใส่เข้าไปด้วยในบริเวณโถงกลางบ้าน จะมีบันไดแยกเป็น 2 ด้าน และสวนไผ่เล็ก ๆ ทำให้รู้สึกได้ถึงความสดชื่นเป็นธรรมชาติที่พริ้วไหว เป็นการจัดการภายในแบบ outside in หรือการนำธรรมชาติภายนอกเข้ามาสู่ภายใน บ้านกับธรรมชาติจึงเสมือนเป็นสิ่งเดียวกัน

สภาพภูมิอากาศของบราซิลมีหลากหลายแบบ ในส่วนทางเหนือจะเป็นเขตร้อนชื้น

สภาพภูมิอากาศของบราซิลมีหลากหลายแบบ ในส่วนทางเหนือจะเป็นเขตร้อนชื้น ส่วนทางใต้จะมีสภาพอากาศอบอุ่นและหนาว ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่จะเห็นบ้านแบบทรอปิคอล เต็มไปด้วยความโปร่งโล่งให้ระบายอากาศร้อนได้ดี คล้าย ๆ

บ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เริ่มนิยมออก แบบบ้านสไตล์โมเดิร์นทรอปิคอลเขตร้อน มากขึ้น เพราะตอบโจทย์ทั้งความร้อนและความเชื้นได้ดี ซึ่งจะใช้วัสดุกระจกทำผนังในบริเวณกว้างใส่ความโปร่งเบาและรับแสงได้ดี แล้วใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ในการกั้นกรองแสงเพิ่มเติม ทั้งนี้ต้องเลือกกระจกที่มีคุณสมบัติในการสะท้อนแสง ไม่อมความร้อน ทำให้บ้านไม่ร้อนมาก
บ้านเปิดผนังโล่งกว้าง

แบบบ้านเขตร้อน บ้านร้อน! ถือเป็นปัญหาโลกแตก ที่แก้ได้ยากมากถึงมากที่สุดในประเทศไทย