บ้านสไตล์นอร์ดิก หากพูดถึงรูปแบบบ้านที่กำลังได้รับความนิยม อย่างมากในตอนนี้ คงหนีไม่พ้นกับ บ้านสไตล์นอร์ดิก ที่โดดเด่นทั้งในเรื่องของดีไซน์ที่สวยงาม ความเรียบง่ายสบายตา ที่ตัดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็นออก แต่ในขณะเดียวกันก็เน้นการใช้งานได้จริง รวมถึงให้ความสำคัญกับการอยู่อาศัย ด้วยการใช้แสงธรรมชาติ ให้เราสามารถใช้ชีวิตได้ กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม รอบตัวได้มากยิ่งขึ้น บ้านสไตล์นอร์ดิก จึงตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ ของผู้คนยุคใหม่ และสะท้อนตัวตนของผู้อาศัย ที่ต้องการชีวิตความ เป็นอยู่ที่ดีได้อย่างลงตัว
บ้านสไตล์นอร์ดิก
หลังคาบ้านสไตล์นอร์ดิก การออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่แม้บ้านสไตล์นอร์ดิก จะมีดีไซน์ดูสวยงามเรียบง่าย ปราศจากเส้นสายให้รู้สึกรกรุงรัง แต่สำหรับในแง่ของการก่อสร้าง นั้นกลับมีองค์ประกอบสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะเมื่อเราต้องการบ้านสไตล์นอร์ดิกที่สวยสมบูรณ์แบบ และสามารถอยู่อาศัยได้โดย ไม่ต้องกังวลกับปัญหา ที่จะตามมาภายหลัง
อย่างการเลือก หลังคาบ้าน ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะหลังคาคือส่วนที่ปกป้องคุ้มกัน บ้านทั้งหลัง ในขณะที่ด้านดีไซน์ หลังคาไม่ต่างจากมงกุฎของบ้านที่สะท้อน สไตล์ให้เห็นตั้งแต่สถาปัตยกรรมภายนอก ดังนั้นหากต้องการบ้านสไตล์นอร์ดิกที่ตอบโจทย์ทั้งด้านดีไซน์มินิมอล และการใช้งานที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง
วันนี้เราเลยขอมาเล่าสู่กันฟังกับ 4 ข้อควรระวังเรื่องหลังคาทั้งด้านการออกแบบและการติดตั้งที่เจ้าของบ้านไม่ควรมองข้าม ซึ่งหากเราใส่ใจรายละเอียดทั้งการติดตั้ง จุดเสี่ยง และการออกแบบตั้งแต่ เริ่มต้นก่อสร้าง รับรองว่าคุณจะได้บ้านสไตล์นอร์ดิกที่สวยตรงใจไร้ปัญหาแน่นอน
1.สร้างความกลมกลืนกับบริบทแวดล้อม ด้วยหลังคาโทนสีธรรมชาติ
เพราะเอกลักษณ์สำคัญของ การออกแบบบ้านสไตล์นอร์ดิกคือ การเลือกใช้โทนสีธรรมชาติเป็นหลัก กลุ่มสีเอิร์ธโทนจึงเป็นสีหลังคาที่สไตล์นอร์ดิกนิยม เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกถึงความอบอุ่น และผ่อนคลาย สำคัญคือควร เลือกใช้กระเบื้องหลังคา ที่มีสีสันดูกลมกลืนไปกับบริบทของธรรมชาติ และเป็นวัสดุที่แข็งแรงทนทานควบคู่กัน
2.หลังคาแผ่นเรียบ ตอบโจทย์เส้นสายสะอาดตา
การลดทอนความยุ่งเหยิงให้ได้ความสบายตา และรู้สึกผ่อนคลาย ถือเป็นอีกหนึ่งในหลักการ สำคัญของการออกแบบ สไตล์นอร์ดิก การเลือกหลังคาจึงควรพิจารณา เป็นหลังคาแผ่นเรียบ เพื่อให้ตอบโจทย์องค์ ประกอบการใช้เส้นสายที่เรียบง่าย สบายตาของ Nordic House Style ได้ตั้งแต่แรกเห็น
3.หลังคาจั่วสูง ไร้ชายคา สะท้อนจิตวิญญาณของธรรมชาติ
เนื่องจากสภาพอากาศใน เขตสแกนดิเนเวียนเป็นอากาศที่หนาวเย็นจัด การออกแบบที่ไม่มีชายคา จึงช่วยลดการสะสมของหิมะบนหลังคาได้ดี ซึ่งนั่นจึงทำให้เรา พบเห็นหลังคาสไตล์นอร์ดิก มีลักษณะเป็นทรงจั่วสามเหลี่ยมอยู่เสมอ โดยตัวหลังคาลาดจากมุมสูงลงมาเป็นส่วนเดียวกับผนังและไม่มีชายคายื่นออกมา หรืออาจยื่นออกมาเพียงเล็กน้อย และนั่นทำให้สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญ ด้านสไตล์นอร์ดิกท่านหนึ่งได้ระบุไว้ถึงรูปลักษณ์ โดยรวมของหลังคาว่าเป็นรูปแบบ ของหลังคาที่สะท้อนจิตวิญญาณ ธรรมชาติ เส้นสายของภูเขา และเหลี่ยมไม้ได้อย่างงดงาม
4.ใส่ใจตั้งแต่รายละเอียดการติดตั้ง เพื่อไม่ให้บ้านสไตล์นอร์ดิกมีปัญหาภายหลัง
แม้หลังคาบ้านสไตล์นอร์ดิก ดูเผินๆ จะเป็นหลังคารูปทรงมาตรฐาน เน้นเส้นสายเรียบง่าย และเป็นทรงเรขาคณิตที่ไม่ซับซ้อน แต่การติดตั้งหลังคาบ้านสไตล์นอร์ดิก ก็มีข้อควรระวังที่ต้องใส่ใจ หรือควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านหลังคา ดูแลโดยตรง เนื่องจากถ้าให้ช่างที่ขาดประสบการณ์มาติดตั้ง อาจมีปัญหาตามมาในภายหลัง โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อ จุดชนผนัง และสันหลังคา ซึ่งข้อควรระวังเรื่องการติดตั้งเบื้องต้น
แบบบ้านสไตล์นอร์ดิก สเปซพิเศษเพื่อความเป็นส่วนตัว
ดีไซน์และฟังก์ชันของบ้านนั้นมีความสำคัญก็จริง แต่ก็มีอีกสิ่งหนึ่งที่เจ้าของบ้านไม่ควรมองข้าม นั่นคือ การจัดวางระดับความเป็นส่วนตัวให้กับบ้าน เพื่อให้การอยู่อาศัยตรงกับวิถีชีวิตมากที่สุด บางบ้านจะโชว์ ในส่วนที่เปิดเผยได้ แต่บางบ้านก็มีมุมความเป็นส่วนตัวสูง ไม่ค่อยอยากโชว์พื้นที่ข้างในก็จะต้องวางแผนว่า
หากไม่เปิดจุดนี้มีจุดไหนที่เปิดได้เพื่อไม่ให้ บ้านดูอึดอัดและขาดการติดต่อ อย่างเช่นบ้านนี้ หากมองจากภายนอกจะเห็นเพียงเส้นสายบ้านหลังคาจั่วสูง สไตล์นอร์ดิก ไม่ได้ใส่ลูกเล่นอะไรมากมาย แต่เรื่องราวระหว่างการออกแบบทั้งความ เป็นส่วนตัว การใส่ความแตกต่างอย่างง่าย ๆ เส้นสาย และสี ก็สร้างสเปซนี้ให้มีความพิเศษขึ้นมาได้เช่นกัน
บ้านของครอบครัวนี้ตั้งอยู่ระหว่างถนน ที่พลุกพล่านและสวนสาธารณะ ที่ติดกับแม่น้ำไวกาโต ประเทศนิวซีแลนด์ จากหน้าถนนด้านทิศตะวันออก พื้นที่จะลาดลง ไปทางสวนทิศตะวันตก เจ้าของบ้านที่ค่อนข้างรักความเป็นส่วนตัวจึงออกแบบบ้าน ให้ดูปิดจากสายตาเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง ในลักษณะที่เป็นอาคารหลังคาจั่ว สไตล์นอร์ดิก โชว์ความตัดต่างของสี ผนังอิฐสีขาวในส่วนโรงจอดรถ และผนังไม้สีน้ำตาลในโซนใช้งานประจำวัน ในขณะเดียวกันก็ เปิดกว้างต่อมุมมอง และปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านในส่วนอื่นแทน
จากสวนสาธารณะมองเข้ามาที่ด้านข้าง บ้าน จะเผยให้เห็นลักษณะบ้านหลังคาจั่ว 3 ส่วนที่ต่างสี ต่างความสูง และวัสดุ แต่เชื่อมต่อกันเป็นแถวยาว ส่วนที่สะดุดตาที่สุดอยู่ที่กระจกบานใหญ่ มีกรอบสี่เหลี่ยมเหล็กเป็นซับวงกบยื่น ออกมาให้เส้นสายตาชัดเจนทันสมัย และพื้นที่นั่งเล่นกลางแจ้งที่มีหลังคาคลุมเปิดพื้นที่ใช้ สอยออกสู่พื้นที่สีเขียวในบ้านให้ต่อเนื่องลื่นไหล ด้านนี้จึงดูเปิดออกมากกว่าอีกด้านแ ต่ยังคงรักษาระดับความเป็นส่วนตัวของ บ้านเอาไว้ในส่วนที่ต้องการ
จากประตูทางเข้าจะนำมาสู่บ้านสองชั้น ที่จัดแบบ open plan และรายล้อมด้วยผนังกระจก บ้านจึงเต็มไปด้วยความโปร่งและสว่าง แต่กระจกที่เลือกใช้เป็นแบบติดฟิล์มที่มองทะลุได้ด้านเดียว คนที่อยู่ภายนอกจะมองไม่เห็นภายในบ้าน
จึงใช้ชีวิตได้แบบไม่ต้องกังวลสายตา ในส่วนชั้นล่างจะเป็น Public Zone พื้นที่ใช้งานสาธารณะที่มีความเคลื่อนไหวมากทั้งวัน ประกอบด้วย ห้องนั่งเล่น ครัว โต๊ะทานข้าว ที่วางเฟอร์นิเจอร์เรียงกันไปแบบไม่มีผนังกั้น สามารถเข้าถึงกันได้หมด ส่วนชั้นบนจะจัดวางห้องนอนซึ่งเป็น Private Zone ที่ไม่ต้องการความพลุกพล่าน เหมาะสำหรับพักผ่อนยามค่ำคืน
มุมนั่งเล่นที่จัดให้อยู่ในระดับต่ำลงไปเป็นเหมือนหลุมที่อบอุ่น ล้อมรอบด้วยชุดโซฟาสีเขียวกำมะหยี่หนานุ่ม อีกด้านหนึ่งเป็นม้านั่งไม้บิลท์อินวางเบาะยาวเอาไว้เป็นเบย์วินโดว์ ที่ชวนให้มานั่งริมหน้าต่าง วิธีการแยกฟังก์ชันแบบนี้ให้ความเป็นสัด เป็นส่วนโดยที่ไม่ต้องก่อผนังกั้นให้เสียพื้นที่ และยังทำให้บ้านดูน่าสนุกขึ้นด้วย บ้าน 2 ชั้น
ประตูด้านข้างของครัว เป็นบานสไลด์กระจกเปิดออกเชื่อมต่อมา ยังพื้นที่นั่งเล่นบริเวณเฉลียงไม้ มีหลังคาคลุม ระบบหลังคาเปิดและปิดได้ตามสภาพอากาศ ความต่อเนื่องลื่นไหลระหว่างภาย ในกับภายนอกนี้ทำให้สมาชิกในบ้าน ออกมาใช้งานส่วนกลางแจ้งมากขึ้น จากจุดนี้จะเห็นว่ามีวิวที่หันหน้าออก ไปที่สวนสาธารณะของเมือง เป็นที่มาของการสร้างพื้นที่เปิด ให้บ้านมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอกได้เต็มที่
บ้านที่ดีควรมี Zoning ที่ชัดเจน เริ่มจากการตั้งคำถาม กับตัวเองก่อนว่า ตรงส่วนใหนที่ต้องการความเคลื่อนไหวมาก เคลื่อนไหวน้อย ต้องการปิดเป็นส่วนตัว หรือเปิดเชื่อมต่อปฏิสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อม ถนน เพื่อนบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่แบ่งลำดับการเข้าถึงไว้ 3 โซน คือ พื้นที่ใช้งานสาธารณะ (Public Zone) ได้แก่ เฉลียง ระเบียง ชาน คอร์ทยาร์ดนอกตัวบ้าน บริเวณห้องรับแขก
ส่วนต่อมาจะเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะ (Semi-public Zone) ที่อาจมีคนเดินผ่านไปมาใช้งานช่วงกลางวันเป็นประจำ อาทิ ห้องครัว ห้องรับประทานอาหาร รวมถึงห้องนั่งเล่น และระดับสุดท้ายเป็นโซนส่วนตัว (Private Zone) จะค่อนข้างสงบ ไม่พลุกพล่าน บุคคลภายนอกต้องได้รับอนุญาตก่อนเข้าถึง เช่น ห้องนอน ห้องน้ำชั้นบน เป็นต้น