แบบบ้านระบายความร้อนได้ดี

แบบบ้านระบายความร้อนได้ดี

แบบบ้านระบายความร้อนได้ดี อย่างที่เราก็รู้กันดีว่าเมืองไทยเป็นเมืองร้อน ยิ่งถ้าเข้าสู่หน้าร้อนแล้วสภาพอากาศ บ้านเราก็ไม่ต่างจากเตาอบซักเท่าไหร่ เมื่อสภาพอากาศข้างนอกก็ร้อนแล้ว กลับเข้ามาในบ้านก็ยัง ร้อนอยู่ก็คงไม่ใช่เรื่องดีแน่ๆ วันนี้เรามีเทคนิคใน การต้อนรับหน้าร้อน โดยที่บ้านของเราไม่ร้อนกันครับ เพราะเมื่อ บ้านเย็น คนในบ้านก็จะอยู่สบาย และมีความสุขในที่สุด

แบบบ้านระบายความร้อนได้ดี

ไม่ว่าจะฤดูหนาว ฝน หรือฤดูร้อน แต่หลาย ๆ บ้านก็ยังเผชิญกับปัญหาบ้านร้อน อบอ้าวและร้อนมากตลอดทุกฤดู ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากสภาพอากาศ ของประเทศไทยที่ร้อนเท่านั้น แท้จริงแล้วบ้านร้อนอบอ้าว มีต้นเหตุมาจากความร้อน สะสมที่มีอยู่ภายในบ้าน เพียงเพราะระบบระบาย อากาศภายในบ้านไม่ดีนั่นเอง

สำหรับที่มาของปัญหา “บ้านร้อนอบอ้าว” เกิดจากการที่อากาศร้อน จากภายนอกถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้าน โดยไม่ได้มีการถ่ายเทออกภายนอกบ้าน ส่งผลให้ผู้ที่อาศัย อยู่ในบ้านรู้สึกร้อน อบอ้าว

เทคนิคระบายความร้อนให้ บ้านเย็นสบาย น่าอยู่

1.ลดความร้อนจาก “หลังคา”
เพราหลังคาเป็นปราการด่านแรกที่ต้องเจอกับแสงแดด และความร้อน ดังนั้นการที่เราช่วยลดความร้อน หรือสะท้อนความร้อนบางส่วน ออกไปจากโถงหลังคาก็จะช่วยให้บ้านของเราเย็นขึ้นได้

ซึ่งการลดความร้อนก็ อาจทำได้หลายวิธี เช่น การติดสปริงเกอร์พรมน้ำบนหลังคา แม้อาจจะไม่สวยงามตาซักเท่าไหร่นัก แต่ก็ช่วยลดความร้อนได้ค่อนข้างดีทีเดียวเลย หรือการติดตั้งแผ่นสะท้อนความ ร้อนใต้แผ่นหลังคา หรือใต้แป อย่าง “แผ่นสะท้อนความร้อนดูร่า” ก็สามารถช่วยสะท้อนรังสีความร้อนได้มากถึง 95% เลยทีเดียว

2.ระบายอากาศจาก “ฝ้าชายคา”
เราสามารถลดอุณหภูมิ จากโถงหลังคาได้อีกหนึ่งวิธี นอกเหนือจากการติดแผ่นสะท้อนความร้อน นั่นก็คือการเพิ่มช่องที่ให้อากาศสามารถ ถ่ายเทไหลเวียนได้ดี

ซึ่งจะช่วยให้อากาศร้อนจากโถงหลังคาระบายออกไป และแทนที่ด้วยอากาศที่เย็นกว่าจากลม ที่พัดเข้ามา ด้วยการติดตั้งฝ้าระบายอากาศ เช่น “ดูร่าบอร์ด ระบายอากาศ” ซึ่งมีรูช่วยระบายอากาศได้ดี และยังมีหลากหลายแบบ และลวดลายให้เลือกให้เข้า กับการออกแบบบ้านอีกด้วย

แบบบ้านระบายความร้อนได้ดี

3.เก็บความเย็นไว้ในห้อง ด้วย “ฉนวนกันความร้อน”
ฉนวนกันความร้อนคงจะเป็นสิ่งแรกๆ ที่หลายคนมักจะนึกถึง เมื่อต้องการทำให้บ้านเย็นใช่ไหม ซึ่งจริงๆแล้วฉนวนกันความร้อน มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ได้แก่ แบบอลูมิเนียมฟอยล์, แบบฉีดโฟม PU, แบบโฟม PE, แบบโฟมขาว และแบบฉนวนใยแก้ว โดยแต่ละชนิดจะมีคุณภาพกันความร้อน และราคาที่ต่างกันออกไป

แต่หากจะพูดถึงประเภทที่กันความร้อนได้ ดีที่สุดคงต้องยกให้ แบบฉนวนใยแก้วครับ เนื่องจากสามารถลดความร้อน ในห้องได้อย่างชัดเจน ติดตั้งง่าย รวดเร็ว และยังปลอดภัยเพราะ เป็นวัสดุจากธรรมชาติ และไม่ลามไฟ อีกทั้งยังสามารถช่วยลดเสียงได้อีกด้วย ซึ่งฉนวนใยแก้วเองก็มีทั้งแบบปูบนแป และแบบปูบนฝ้าครับ อย่างเช่น “ฉนวนใยแก้วดูร่า” ที่ใช้งานปูบนฝ้าเพดาน มีความหนา 2 นิ้ว และ 3 นิ้วให้เลือกนั่นเอง

4.ฝ้าเย็น ด้วย “แผ่นยิปซัม”
นอกจากเราจะใช้ฉนวนใยแก้วปูบนฝ้าแล้ว ยังมีอีกวิธีที่ช่วยลดความร้อน จากฝ้าให้ห้องของเราได้ ด้วยการใช้แผ่นยิปซัมที่ติดแผ่นสะท้อนความร้อนไปบนตัวแผ่นเลย เช่น “ดูร่ายิปซัมบอร์ด รุ่นทนร้อน” ที่ช่วยสะท้อนรังสีความร้อนได้มากถึง 93.7% หรือเป็นผ้าแบบทีบาร์อย่าง “ฝ้ายิปซัมดูร่า รุ่นบ้านเย็น” ที่สะท้อนรังสีความร้อนได้ 86%

5.ติดม่านบังแดดให้บ้าน ด้วย “ไม้บังตา”
นอกจากเราจะใช้ฉนวนใยแก้วปูบนฝ้าแล้ว ยังมีอีกวิธีที่ช่วยลดความร้อน จากฝ้าให้ห้องของเราได้ ด้วยการใช้แผ่นยิปซัมที่ติดแผ่นสะท้อนความร้อนไปบนตัวแผ่นเลย เช่น “ดูร่ายิปซัมบอร์ด รุ่นทนร้อน” ที่ช่วยสะท้อนรังสีความร้อนได้มากถึง 93.7% หรือเป็นผ้าแบบทีบาร์อย่าง “ฝ้ายิปซัมดูร่า รุ่นบ้านเย็น” ที่สะท้อนรังสีความร้อนได้ 86%

แบบบ้านระบายความร้อนได้ดี

6.เลือกพื้นให้เย็น ด้วย “กระเบื้อง”
การเลือกใช้พื้นของบ้านด้วยกระเบื้อง หรือหินอ่อน หินแกรนิต หรือแม้กระทั่งพื้นปูนดิบสไตล์ loft นั้นก็ช่วยให้เรากักเก็บความเย็นจากพื้นได้ อีกทั้งยังเป็นวัสดีที่คายความร้อน ได้เร็วอีกด้วย ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้หลายหลายตามดีไซน์ และงบประมาณครับ การที่เรามีพื้นที่ของบ้านส่วนหนึ่งเป็นพื้นเย็น แบบนี้ก็ช่วยลดอุณหภูมิ ในบ้านได้ไม่น้อยเลยนะ

7.เลือกใช้ผนังเย็น ด้วย “อิฐมวลเบา”
การเลือกใช้วัสดุที่มีค่าต้านทานความร้อนสูงมาทำผนัง อย่าง “อิฐมวลเบาดูร่า” เพราะอิฐมวลเบาถือว่าเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีกว่าอิฐมอญถึง 7.3 เท่า สามารถป้องกันความร้อนจากภายนอก และรักษาความเย็นภายในได้ดีกว่า จึงสามารถลดภาระของเครื่องปรับอากาศ ช่วยคุณประหยัดค่าไฟได้เป็นอย่างดี แข็งแรง ติดตั้งไว รวมถึงสามารถกันเสียงจากภายนอก และเก็บเสียงจากภายในห้องได้ดีอีกด้วย

8.ป้องกันแสงและความร้อน ด้วย “ฟิล์ม”
เราควรทำการติดตั้งแผ่นฟิล์มกรองแสงที่กระจกของบ้านเรา เพื่อช่วยลดปริมาณแสง และความร้อนที่จะเข้ามาสู่ภายในบ้าน หรือเลือกใช้กระจกที่ทำการย้อมสีชา และควรติดม่านเพิ่มเติม เพื่อช่วยบังแสงอีกหนึ่งชั้น

9.เปลี่ยนไฟในบ้าน เป็น “หลอดประหยัดพลังงาน”
การเลือกใช้หลอดไฟส่องสว่างภายในบ้าน ก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิ ในบ้านเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะกับหลอดไส้ ซึ่งให้แสงสว่างที่สวยงาม นวลตา แต่ต้องแลกมากับความร้อนที่ค่อนข้างสูง อีกทั้งยังกินไฟอีกด้วย การเลือกใช้หลอดไฟประหยัด พลังงานอย่างหลอดตะเกียบ หรือที่นิยัมกันในปัจจุบันอย่างหลอดไฟ LED ซึ่งให้แสงว่างที่คงที่ อายุใช้งานยาวนาน ประหยัดพลังงาน และยังช่วยลดอุณหภูมิในห้องได้ดีกว่าอีกด้วย

10.เพิ่มลมให้ไหลเวียน ด้วย “พัดลมเพดาน”
“พัดลมบนเพดาน” ช่วยการหมุนเวียนของอากาศ ภายในบ้านได้ดี และเร็วที่สุดทางหนึ่ง เพียงเปิดหน้าต่าง แล้วเปิดพัดลมเพดาน นับหนึ่ง สอง สาม บริเวณดังกล่าวก็แทบไม่เหลือความร้อนใดๆ อยู่เลย แถมยังให้ความเย็นในวงกว้างอีกด้วย “พัดลมเพดาน” จึงนิยมติดตั้งในพื้นที่หลักๆ อย่าง ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น

ไอเดียบ้านระบายความร้อน ด้วยอิฐช่องลม ชมท้องฟ้าผ่านช่องว่างบนหลังคา

ไอเดียบ้านระบายความร้อน ด้วยอิฐช่องลม ชมท้องฟ้าผ่านช่องว่างบนหลังคา

บ้านเย็นด้วยอิฐช่องลม เมืองใหญ่ของไทยในอดีตต่างเคยเป็นสังคมชนบทมาก่อน ถ้านึกย้อนไปทุกคนก็คงจะเห็นภาพบ้านเรือนที่สร้างง่าย ๆ การสัญจรบางตา ผู้คนไม่พลุกพล่าน ไปไหนมาไหนก็สบาย

บรรยากาศก็เงียบสงบอยู่อาศัยกันอย่างเป็นกันเอง แต่เมื่อเศรษฐกิจ สังคม เติบโตขึ้น ทำให้เมืองที่เคยเงียบสงบกลับเต็มไปด้วยความจอแจ ทำให้บ้านในรุ่นหลัง ๆ เริ่มขยายอกมารอบนอกเมืองมากขึ้น เพื่อดึงความสงบกลับสู่ชีวิต บ้านหลังนี้ในเอกวาดอร์ก็เกิดขึ้นด้วยแนวคิดที่ว่าเช่นเดียวกัน

บ้านที่ออกแบบมาเพื่อพักผ่อน The House of Silence หรือบ้านแห่งความเงียบคือชื่อของโครงการนี้ สร้างอยู่บนพื้นที่ 320 ตารางเมตร ในเมือง Quevedo จังหวัด Los Ríos ประเทศเอกวาดอร์ Quevedo เป็นหนึ่งในเมืองเศรษฐกิจที่มีศัยภาพทางการค้าสูงและเป็นสถานที่ที่ผู้คนต้องแวะมาท่องเที่ยวเยี่ยมเยือน

 บ้านเต็มไปด้วยสนามหญ้าสีเขียว ต้นไม้ใหญ่

ซึ่งก็ต้องแลกมาด้วยความพลุ่กพล่านของผู้คน และเสียงการจราจรที่ค่อนข้างดังรบกวนการใช้ชีวิตเเละพักผ่อนของชาวเมืองพอสมควร เจ้าของบ้านหลังนี้จึงค้นหาที่หลบภัยจากความวุ่นวายสำหรับผู้สูงวัย 85 ปีและครอบครัวด้วยการเลือกโลเคชันที่ห่างไกลการจราจรและออกแบบบ้านให้ตอบโจทย์ความตั้งใจที่จะใช้ชีวิตแบบเงียบๆ

รอบ ๆ บ้านเต็มไปด้วยสนามหญ้าสีเขียว ต้นไม้ใหญ่ บ้านเดี่ยว เป็นเสมือนกันชนที่ทำให้ตัวบ้านห่างจากถนน ช่วยดูดซับเสียงและเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้บ้านไปพร้อมกัน ถ้ามองจากด้านหน้าจะเห็นอาคารชั้นเดียวยกสูงลอยจากพื้นเล็กน้อย ตัวบ้านแบ่งบ้านออกเป็น 3 ช่อง มีห้องก่ออิฐปิดทึบด้านหนึ่ง

อีกด้านหนึ่งเป็นกรอบกล่องมีเฉลียงนั่งเล่นหน้าบ้าน คั่นด้วยที่ว่างขนาดใหญ่ตรงกลาง แต่ในความเป็นจริงแล้วรูปร่างอาคารเป็นสี่เหลี่ยมมีห้องล้อมรอบห่อหุ้มลานอเนกประสงค์ที่อยู่กลางบ้าน สำหรับวัสดุสถาปนิกหยิบจับวัสดุท้องถิ่นที่หาได้ง่ายมาสร้างสถาปัตยกรรมที่ยังแฝงความเป็นชนบท อาทิ อิฐแดง บล็อกช่องลม งานไม้

อร์ดยาร์ดแสนสดชื่นใจกลางบ้าน การจัดตำแหน่งให้กล่องอาคารขนาบคอร์ดยาร์ดกลางบ้าน เป็นหนึ่งกลวิธีป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกเข้าสู่พื้นที่ใช้สอยหลักของบ้าน ในขณะเดียวกันสถาปนิกก็เพิ่มเสียงของธรรมชาติที่จรรโลงใจเข้าไป

เป็นช่องว่างเปิดออกสู่ท้องฟ้า (open space) ที่สามารถรับแสง ลม

ด้วยการจัดสวนน้ำตกแต่งหินที่ทำให้เกิดเสียงน้ำไหลเพิ่มกระแสความสดชื่น ซึ่งบ่อน้ำและสวนนี้ยังเหมาะกับพื้นที่เขตร้อนที่ต้องการความเย็นจากไอน้ำและต้นไม้ เจาะช่องว่างรับแสง ลม ฝนตรงหลังคา จุดที่สะดุดตาที่สุดของบ้านต้องยกให้หลังคาที่เหมือนทรงปั้นหยาที่หลังคาทั้ง 4 ด้านลาดไหลลงสู่ผนังโดยมีความชันไหลเอียงเท่ากัน แต่สิ่งที่ต่างคือ แทนที่ตัวหลังคาจะมาบรรจบปิดตรงกลาง

สถาปนิกกลับตั้งใจเว้นเป็นช่องว่างเปิดออกสู่ท้องฟ้า (open space) ที่สามารถรับแสง ลม และน้ำฝนเข้ามาตรงสนามหญ้าด้านล่างพอดี วิธีนี้ทำให้บ้านมีกระแสลมหมุนเวียนได้ดี ลดความร้อนสะสมในบ้าน และยังทำให้บรรยากาศรอบ ๆ เหมือนกำลังใช้ชีวิตกลางแจ้ง

About the Author

You may also like these